รวมทุกอย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับ “เอเชียนเกมส์ 2022” ครั้งที่ 19 นครหางโจว จัดขึ้นถึงวันที่เท่าไร มีคำขวัญ สัญลักษณ์ประจำปีเป็นอย่างไร และเหรียญรางวัลของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร เช็กที่นี่!

รวมทุกอย่างที่ต้องรู้! “เอเชียนเกมส์ 2022” ครั้งที่ 19 นครหางโจว

เริ่มต้นกันไปบ้างแล้ว สำหรับ ” หรือ "Asian Game 2022"บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคัก คนต่างส่งกำลังใจให้เหล่ากองทัพนักกีฬาไทย ลุ้นคว้าเหรียญรางวัลในกีฬาประเภทต่าง ๆ

แต่เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชมเอเชียนเกมส์ครั้งที่ให้สนุกยิ่งขึ้น ทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี ขออาสาพาทุกคนไปรู้เรื่องราวน่ารู้ของมหกรรมการแข่งขันกีฬาครั้งนี้กัน!

เฉลยข้อสงสัย จัดปี 2023 แต่ทำไม่ใช้ชื่อปีเดิม

ครั้งนี้ชื่อเรียกของ “เอเชียนเกมส์” อาจพิเศษกว่าปีไหน ๆ เพราะใช้ชื่อว่า “เอเชียนเกมส์ 2022” แต่กลับแข่งในปี 2023

โดยสาเหตุที่เป็นแบบนี้นั้น เป็นเพราะว่า ที่จริงแล้วกำหนดจัดเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 หากนับระยะห่างจากครั้งที่แล้ว 4 ปี จะต้องมีขึ้นในปี 2022

แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ขณะนั้น ประกอบกับแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 ในจีน ประเทศเจ้าภาพ กลับพุ่งสูงขึ้นมากสุด นับตั้งแต่พบการระบาด-19 ครั้งแรกด้วย สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียจึงเลื่อนจัดแข่งขันกีฬาออกไปอย่างไม่มีกำหนด จนกระทั่งการระบาดของโควิด-19 เบาบางลง จึงกลับมาจัดการแข่งขันอีกครั้งในปี 2023 และใช้ชื่อปีเดิมนั่นเอง

เอเชียนเกมส์ 2022 จัดขึ้นที่นครหางโจว ประเทศจีน

“เอเชียนเกมส์” เป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิดระหว่างประเทศในทวีปเอเชียด้วยกัน จัดเป็นการแข่งขันขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกีฬาโอลิมปิก (Olympic)

ในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ มีชาติเจ้าภาพการแข่งขันแล้ว 9 ประเทศ ครั้งล่าสุดนี้เป็นครั้งที่ 19 ที่มีเจ้าภาพการแข่งขันคือ “ประเทศจีน” ซึ่งเคยเป็นเจ้าภาพมาแล้ว รวมครั้งนี้ด้วยนับเป็นครั้งที่สาม

โดยครั้งนี้เจ้าภาพอย่างแดนมังกรได้เลือก “เมืองหางโจว” ที่ได้รับสมญานามว่า “สวรรค์บนพื้นปฐพี” เป็นเมืองเจ้าภาพ หลังจากเมื่อปี 1990 เลือกจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง และในปี 2010 ที่เมืองกว่างโจว

เอเชียนเกมส์ มีระยะเวลาการแข่งขันนานกว่า 2 สัปดาห์

เอเชียนเกมส์จัดขึ้นทุก 4 ปี และจะแข่งขันกันเป็นระยะเวลากว่า 2 สัปดาห์ โดยครั้งนี้เริ่มต้นอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2566 มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566 และการแข่งขันจะยาวไปจนถึงพิธีปิดในวันที่ 8 ตุลาคม 2566

คำขวัญประจำเอเชียนเกมส์2022

คำขวัญอย่างเป็นทางการของเอเชียนเกมส์ 2022 คือ

ใจถึงใจ @อนาคต หรือ Heart to Heart, @ Future

โดยได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดเป็น 1,000 วันก่อนพิธีเปิด สำหรับคำขวัญนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อมโยงที่เอเชียนเกมส์สร้างขึ้นระหว่างประเทศต่างๆ ในเอเชีย

สัญลักษณ์ประจำเอเชียนเกมส์ 2022

ช่อดอกไม้พิธีมอบเหรียญรางวัล

ช่อดอกไม้ในพิธีมอบเหรียญรางวัล มีชื่อว่า"ผลแห่งชัยชนะ" (Fruits of Triumph)เป็นตัวแทนบทพิสูจน์น้ำใจนักกีฬาและจิตวิญญาณอันแข็งแกร่งของนักกีฬาเอเชียนเกมส์ และเป็นเครื่องหมายอวยพรให้พวกเขาเดินทางสู่หนทางแห่งความสำเร็จและเกียรติยศ

ช่อดอกไม้นี้ผสมผสานองค์ประกอบสำคัญในวัฒนธรรมจีน ได้แก่ รวงข้าวและฝักบัว ซึ่งมีนัยถึงการกอบโกยผลสำเร็จและการบรรลุเป้าหมาย ด้านในประกอบด้วยดอกกุหลาบสายพันธุ์จีนเรียกว่า"ใจพิสุทธิ์" (Heart of Innocence)ดอกกล้วยไม้ผีเสื้อ (Butterfly orchid) ซึ่งสะท้อนเฉดสี"สายรุ้งสีม่วง"จากชุดสีประจำการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ รวมถึงพืชพรรณโดดเด่นของหางโจว ได้แก่ กิ่งของต้นชาหลงจิ่ง และกิ่งของดอกกุ้ยฮวา หรือหอมหมื่นลี้

นวัตกรรมที่เป็นจุดเด่นสำหรับการแข่งขันฯ ได้แก่ ภาชนะใส่ดอกไม้ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากฮวากู ภาชนะปากกว้างขนาดยาวจากเตาหลวง กวนเหยา สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ (ปี 1127-1279) และงานแกะสลักตงหยาง ที่ถูกยกย่องเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้แห่งชาติ ซึ่งการออกแบบน้ำกระเพื่อมบริเวณด้านบนสะท้อนความงามของบทกวีเกี่ยวกับเนินเขาและแม่น้ำคดเคี้ยวของเจ้อเจียง

เหรียญรางวัล

เหรียญรางวัลเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ เปิดตัวในชื่อซานสุ่ย”ได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากยี่ว์ฉง”หยกโบราณที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้ในวัฒนธรรมเหลียงจู่

ด้านหน้ามีสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน เนินเขาที่ปกคลุมด้วยหมอก และเมืองเป็นทะเลสาบที่กระเพื่อม ประกอบกับภูเขาลูกคลื่นที่อยู่ไกลออกไป ในขณะที่ด้านหลังมีตราสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์แห่งเอเชียนเกมส์ และชื่อของประเภทการแข่งขันเป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษ

ถาดมอบเหรียญรางวัล

การออกแบบถาดเหรียญรางวัลได้แรงบันดาลใจจากระลอกคลื่นของทะเลสาบตะวันตกยามสัมผัสสายลมพัดแผ่วเบา สื่อให้เห็นถึงความงดงามของทะเลสาบและเนินเขา โดยผลิตขึ้นจากอะลูมิเนียมผ่านกระบวนการขึ้นรูปแบบชิ้นเดียว ตัวถาดเคลือบด้วยน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แท่นรับเหรียญรางวัล

แท่นยืนรับรางวัลนี้ไล่ระดับสี"สายรุ้งสีม่วง"บริเวณด้านนอก ส่องประกายความมีชีวิตชีวาและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ พื้นผิวของแท่นแต่งแต้มด้วย"สีหมึกขาว" (Ink White)สื่อถึงจิตวิญญาณแห่งความเป็นเอกภาพ ความสามัคคี และความสำเร็จร่วมกันในกลุ่มประเทศและภูมิภาคเอเชีย

มาสคอต

การแข่งขันครั้งนี้ มีมาสคอตถึง 3 ด้วยด้วยกัน นับเป็นครั้งที่ 2 ที่มีมาสคอต 3 ตัว ต่อจากเอเชียนเกมส์ปี 2014 ที่เกาหลีใต้

มาสคอตทั้ง 3 ได้แก่ฉงฉง, เหลียนเหลียน, และเฉินเฉิน ถูกออกแบบโดย จาง เหวิน และหยาง หงอี้ 2 อาจารย์จากสถาบันศิลปะแห่งประเทศจีน

ทั้ง 3 มาสคอตเป็นหุ่นยนต์แฝดที่มาจากอนาคต นำเสนอความเป็นผู้นำด้านประเพณี นวัตกรรม และภูมิปัญญา ได้รับแรงบันดาลใจจากสถานที่ที่ยูเนสโกประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกในเมืองหางโจว 3 แห่ง

โดยฉงฉง”มาสคอตสีเหลือง เป็นตัวแทนของเมืองโบราณเหลี่ยงจู่ ชื่อ “ฉง” ได้รับแรงบันดาลใจมาจากจี้หยกโบราณอายุกว่า 5,000 ปี ที่ขุดพบในเมืองดังกล่าว และสีเหลืองยังหมายถึงการเก็บเกี่ยวและความอุดมสมบูรณ์ด้วย

ต่อมาคือเหลียนเหลียน”มาสคอตสีเขียว เป็นตัวแทนของทะเลสาบตะวันตก หรือทะเลสาบซีหู เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขา 3 ลูก และมีสิ่งก่อสร้างทางวัฒนธรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเจดีย์, เก๋งจีน, วัด, สวนแบบจีน, สวนสไตล์ญี่ปุ่น,และศาลเจ้าจนถูกขนานนามว่าเป็นสวรรค์บนดิน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2011

และเฉินเฉิน”มาสคอตสีฟ้า ที่เป็นตัวแทนของคลอง Grand Canal ซึ่งเป็นคลองที่ขุดขึ้นสมัยราชวงศ์ซุย เชื่อมต่อกับแม่น้ำแยงซี เริ่มขุดจากกรุงปักกิ่งมาสิ้นสุดที่เมืองหางโจว โดยชื่อ “เฉิน” ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสะพานกงเฉิน ที่พาดผ่านคลอง Grand Canal นั่นเอง นอกจากนี้ สีฟ้าของเฉินเฉินยังสื่อถึงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ล้ำสมัย

คบเพลิง

"เปลวเพลิงนิรันดร์” (Eternal Flame)คือชื่อของคบเพลิงประจำการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2022 การออกแบบคบเพลิงมีชื่อว่า"Torch Fire"แนวคิดการออกแบบได้มาจากวัฒนธรรมเหลียงจู่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์อารยธรรมจีน 5,000 ปี ด้วยบรรยากาศที่เคร่งขรึมและรูปร่างที่ยาวไกล ได้รับการถ่ายทอดผ่านผู้ถือคบเพลิงเพื่อแสดงให้โลกเห็นถึงความคิดสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์ของการออกแบบของประเทศจีน และพลังอันแข็งแกร่งของการผลิตในประเทศจีน

เพลงประกอบ

เพลงประกอบการแข่งขันอย่างเป็นทางการ“With you and Me”ได้เผยแพร่ออกมาเป็นมิวสิกวิดีโอให้ทุกคนได้เห็นกันแล้วเมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา ร้องโดย แองเจลา ชาง, แจ็กสัน หวัง, ซันนี และ ถาน เจี้ยนซือ

และที่น่าดีใจคือ อีกเพลงที่ได้รับการคัดเลือกจากการประกวดระดับโลก เพื่อแต่งเพลงธีมประกอบการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ คือผลงานของคนไทย ผลิตโดยนาดาวมิวสิค มีชื่อเพลงต้นฉบับว่าเพื่อนกัน”หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า“Let’s Celebrate”ร้องโดย ไอซ์ พาริส, บิวกิ้น พุฒิพงศ์, พีพี กฤษฎ์ และ นาน่า ศวรรยา

เอเชียนเกมส์มี 46 ชาติเข้าร่วมแข่งขัน

เอเชียนเกมส์ 2022มีชาติในเอเชียเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 46 ชาติ ได้แก่ 1.) อัฟกานิสถาน, 2.) บาห์เรน, 3.) บังคลาเทศ, 4.) ภูฏาน, 5.) บรูไนดารุสซาลาม, 6.) กัมพูชา, 7.) สาธารณรัฐประชาชนจีน, 8.) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี, 9.) ฮ่องกง จีน, 10.) อินเดีย

11.) อินโดนีเซีย, 12.) สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, 13.) อิรัก, 14.) ญี่ปุ่น, 15.) จอร์แดน, 16.) คาซัคสถาน, 17.) สาธารณรัฐเกาหลี, 18.) คูเวต, 19.) คีร์กีซสถาน, 20.) สาธารณรัฐประชาธิปไตยลาว

21.) เลบานอน, 22.) มาเก๊า จีน, 23.) มาเลเซีย, 24.) มัลดีฟส์, 25.) มองโกเลีย, 26.) เมียนมาร์, 27.) เนปาล, 28.) นักกีฬาอิสระที่เข้าร่วมภายใต้ธง OCA, 29.) โอมาน, 30.) ปากีสถาน

31) ปาเลสไตน์, 32.) ฟิลิปปินส์, 33.) กาตาร์, 34.) ซาอุดิอาระเบีย, 35.) สิงคโปร์, 36.) ศรีลังกา, 37.) สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย, 38.) จีนไทเป, 39.) ทาจิกิสถาน, 40.) ไทย

41.) สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต, 42.) เติร์กเมนิสถาน, 43.) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, 44.) อุซเบกิสถาน, 45.) เวียดนาม และ 46.) เยเมน

โดย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา สิงคโปร์ และไทย เป็น 7 ชาติที่เข้าร่วมแข่งขันเอเชียนเกมส์ครบทั้ง 19 ครั้ง

เอเชียนเกมส์ 2022 ใช้สนามกีฬาทั้งหมด 56 แห่ง

เอเชียนเกมส์ 2022ใช้เมืองหาวโจว และอีก 5 เมือง ได้แก่ หนิงโป เวินโจว จินหัว เส้าซิง และหูโจว เป็นสถานที่ในการแข่งขัน โดยใช้สนามกีฬาทั้งหมด 56 แห่ง เจ้าภาพจีนลงทุนไปกับการแข่งขันครั้งนี้ราว 1.4 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 4.9 หมื่นล้านบาท

เอเชียนเกมส์ครั้งนี้ มีนักกีฬาเข้ามาแข่งขันมากสุด

เอเชียนเกมส์ 2022ถือเป็นทัวร์นาเมนต์ที่มีนักกีฬาเข้าแข่งขันมากที่สุด โดยมีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 12,500 คน มากกว่าเอเขียนเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่อินโดนีเซีย ที่มีนักกีฬาเข้าร่วมราว 11,300 คน

โดยไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมมากสุด 934 คน ขณะที่จีนส่งนักกีฬาเข้าร่วมมากกว่า 900 คน ด้านอินเดีย ส่งนักกีฬาเข้าร่วมราว 653 คน และ อินโดนีเซียส่งนักกีฬามาแข่งขันน้องที่สุดเพียง 415 คน

สรุปเหรียญเอเชียนเกมส์

เหรียญรางวัลตลอดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ตั้งแต่ปี 2494 – 2561 จีน ประเทศเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 เป็นประเทศที่สามารถคว้ารางวัล “เหรียญทอง” ไปได้มากที่สุด รวมจำนวน 1,474 เหรียญ ขณะที่ ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่สามารถคว้ารางวัล “เหรียญเงิน” และ “ทองแดง” ไปได้มากที่สุด

ส่วนไทยนั้นเคยได้รับเหรียญมาแล้วทั้งหมด 586 เหรียญ นับเป็นอันดับที่ 5 ของทั้งหมด รองจาก จีน ที่ได้รับมาทั้งหมด 3,187 เหรียญ, ญี่ปุ่น จำนวน 3,054 เหรียญ, เกาหลีใต้ จำนวน 2,235 เหรียญ และ อินเดีย จำนวน 672 เหรียญ ตามลำดับ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก :

คำพูดจาก สล็อต777

รวมทุกอย่างที่ต้องรู้! “เอเชียนเกมส์ 2022” ครั้งที่ 19 นครหางโจว

admin