จากร้อย สู่ (พัน)ล้าน ข้อคิดการบริหารเงินฉบับหมอต้อย - พญ.นลินี ไพบูลย์

หัวข้อ “จากร้อย สู่ (พัน)ล้าน ข้อคิดการบริหารเงินฉบับหมอต้อย”
แขกรับเชิญ -พญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด และบริษัทในเครือ
ดำเนินรายการ-ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ CEO, ADGES และที่ปรึกษาชมรม HCMสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
แม้สถานการณ์โควิด-19 อาจจะดูเริ่มคลี่คลายไปบ้าง แต่การได้แนวคิดหลักการบริหารเงินหรือการใช้ชีวิตของผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่งอย่าง พญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด และบริษัทในเครือ เพราะจากสูตินรีแพทย์กลายเป็นผู้นำพาธุรกิจขายตรงที่เป็นเรื่องใหม่ของเมืองไทยเมื่อ 24 ปีก่อนที่มีพนักงานเริ่มต้น 150 คน จนตอนนี้พนักงานประจำกว่า 1,000 คน และสร้างยอดขายหลักหลายหมื่นล้านบาท อีกทั้งได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร Forbes Asia ให้เป็น 1 ใน 50 นักธุรกิจสตรีที่มีอิทธิพลในเอเชีย ที่พร้อมจะมาให้ข้อคิดการบริหารการเงินในสภาวะปัจจุบันเริ่มมีความจำเป็นและสำคัญมากขึ้น
จุดเริ่มต้นแนวคิดที่ทำให้ปลอดภัยเรื่องการเงิน
จากผู้หญิงคนหนึ่งที่เคยเป็นหมอแล้วกลายเป็นนักธุรกิจ การมีแนวคิดที่ทำให้ปลอดภัยเรื่องของการเงิน เริ่มต้นเพราะไม่ได้เกิดในครอบครัวที่มีฐานะดีมาก 8 ปีแรกของชีวิตอยู่บ้านพักของทหารอากาศที่บางซื่อของคุณพ่อที่จบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เลือกมารับราชการเป็นทหารอากาศช่างกรมโยธา ขนาดพื้นที่บ้านพักกว้างประมาณ 4 เมตร ลึก 10 เมตร เทียบเท่ากับทาวน์เฮ้าส์ปัจจุบัน โดยอาศัยกับคุณพ่อ คุณแม่ คุณย่า และน้องชาย แต่ไม่ได้รู้สึกว่าบ้านมีขนาดเล็ก
หากเทียบกับผู้ที่อาศัยระแวกเดียวกัน คุณพ่อยังพอหารายได้พิเศษได้เพราะมีอาชีพเป็นช่าง และยังพ่อเป็นวิศวกรฐานราก 5 คนแรกของประเทศไทยมีการออกแบบสนามบินดอนเมือง และช่วยออกแบบให้กับบริษัทเอกชน เพราะสมัยก่อนไม่มีบริษัทรับเหมาเอกชนขนาดใหญ่เหมือนปัจจุบัน และเข้าไปศึกษาที่ ร.ร.มาแตร์เดอีวิทยาลัย และเห็นว่าเพื่อนๆ มีเงินมากกว่าเราหมด เพราะเป็นเพียงลูกข้าราชการ แต่เรารักกันและไม่เคยเอาเงินมาเป็นตัววัดเรื่องความเป็นเพื่อนคอยช่วยเหลือกันได้ และช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้เพื่อนๆ และสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สอนเสมอคือ
“อย่ามีหนี้ อย่ากู้หนี้ยืมสินใคร มีเท่าไรใช้เท่านั้น”
แนวคิดออมก่อนใช้ทีหลังเริ่มตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย
เริ่มรู้จักการบริหารใช้จ่ายเงินตั้งแต่เรียนคณะแพทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากที่คุณแม่ให้เงินลูกๆ ทั้งสองคนคนละ 1,500 บาท/เดือน แล้วจะเหลือใช้ทุกเดือน โดยเริ่มแบ่งเงินออมไว้ก่อนทั้งหมด 3 ส่วนก่อน ที่เหลือค่อยนำไปใช้ เพราะคิดเอาเองเสมอว่า ชีวิตคนต้องไม่ประมาท 1.นำไปซื้อทองเก็บไว้ ตอนนั้นราคาทองคำรูปพรรณบาทละ 400 บาท และจะกันเงินไว้เลยว่าจะไม่ใช้ 400 บาท 2.จะกันเงินที่ได้มาเก็บไว้ 10-15% ไว้ออมก่อน และ 3.ไว้ทำบุญหรือช่วยเหลือคนประมาณ 15% ที่เหลือก็จะเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่าย
พอเรียนจบปริญญาตรีไปเป็นคุณหมอประจำที่กองทัพอากาศ เริ่มใช้ทุนที่ รพ.จันทรุเบกษาเงินเดือนหมอจบใหม่ 6,000 บาท ได้ค่าอยู่เวร 10 ครั้ง/เดือน ประมาณ 1,500 บาท แต่กลับไม่รู้สึกว่าจน คนเราจะจนหรือรวยอยู่ที่มาตรฐานความสุขของเราคืออะไร ซึ่งตอนนั้นมาตรฐานความสุขอยู่ที่ได้ไปหาของกินที่อร่อยตอนเย็นกับเพื่อน ชอบเย็บตุ๊กตาทำเสร็จก็ให้พยาบาล และย้ายประจำที่ รพ.ภูมิพล
“พอกลับมาใช้ทุนแล้วมีความมุ่งมั่นจะกลับมาเป็นสูตินรีแพทย์เต็มตัว ถือว่าหนักเพราะไม่ได้ดูแต่คนที่ท้อง แต่ดูคนไข้ที่เป็นมะเร็งด้วย ทำให้เห็น เกิด แก่ เจ็บ และการตายเป็นประจำ จนเข้าใจว่าเวลาที่ตายจริงๆ ไม่ว่าจะยากดีมีจนไม่ได้มีความแตกต่างกันเลย เพราะบางคนไม่ได้อยากจากโลกนี้ไป แต่บางคนละวางได้ และช่วงนั้นก็ยังแบ่งเงินเดือนที่ได้มา 7,000 บาท เก็บช่วยเหลือคนไข้เดือนละ 1,000-1,500 บาท รวมถึงส่งเด็กเรียนหนังสือที่เชียงใหม่เดือนละ 500 บาท”
การเป็นหมอสูตินรีเวชจนเริ่มทำธุรกิจขายตรง ได้เห็นกับดักการหาเงินหรือใช้เงินของคนที่มีรายได้น้อย
ตอนเรียนแพทย์ปี 4-5 รู้สึกชอบทางด้านผิวหนังและมีการไปฝึกฝนกับรุ่นพี่ที่เป็นแพทย์ผิวหนังที่มีคนไข้มารักษากว่า 400-500 คน/วัน แต่เลือกบรรจุสูตินรีแพทย์แทนเพราะเพื่อนอยากเรียนผิวหนังแต่รับบรรจุเพียงคนเดียว รู้ว่าสิ่งที่ได้จากการเป็นสูตินรีแพทย์คือ 1.เป็นคนที่ทำอะไรเร็วมากเพราะต้องทำคลอดเด็กออกมาเร็วที่สุด และ 2.การได้เห็นคนไข้ที่ยากจนว่าเขามีวิธีการคิดอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่มีรายได้ไม่มาก มองได้เพียงเดือนต่อเดือนเป็นหลัก จึงไม่สามารถมองการใช้ชีวิตไปยาวๆ ได้ และชอบนำเงินไปเสี่ยงโชคซื้อหวยหรือล็อตเตอรี่ จนไม่สามารถบริหารรายได้กับค่าใช้จ่ายได้
พอแต่งงานกับคุณหมอด้วยกันแล้วมาเช่าห้องเปิดคลินิกความสวยงามแถวห้วยขวางดินแดงซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไข้มีรายได้น้อย ก็ยังเห็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง เพราะยังได้เห็นทัศนคติการใช้ชีวิตของคนไข้ที่มีแบบวันต่อวันเดือนไม่ชนเดือน ที่ใช้เงินในอนาคตตลอดเวลา โดยไม่รู้เงินในอนาคตที่ตัวเองใช้จะสามารถหามาเพียงพอหรือเปล่า
จนเมื่อเข้ามาธุรกิจขายตรงตอนนั้นยังไม่สามารถเข้าไปโมเดิร์นเทรดได้เพราะมีราคาแพง ทำให้เจอนักขายอิสระที่เหมือนเป็นครูสอนให้เห็น “วิธีคิดของคนไทยเขาคิดอย่างไร” อย่างคนที่ไม่มีอะไรเลย เรียนหนังสือมาน้อย แต่วันหนึ่งสามารถดันตัวเองขึ้นมามีรายได้สูง 40,000-50,000 บาทเดือน ก็ยังใช้ไม่พอ เพราะยังมีรายการผ่อนสินค้าจากรายได้ที่มีทั้งหมดอยู่เสมอ และยังมีความคิดว่าตัวเองต้องมีรายได้ที่มากขึ้น เพราะคิดว่าการมีหนี้จะเป็นตัวผลักดันที่ทำให้ตัวเองมีการทำงานที่มากขึ้น ซึ่งถือเป็นมุมที่คิดถูกและคิดผิด เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นมาอย่างปัจจุบันที่เกิดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขึ้นมา เขาจะไม่สามารถกลับลำทันแล้ว และจะมีแต่หนี้เพิ่มขึ้น โดยที่ไม่มีเงินออมเลย
เป็นคนไม่พลาดเรื่องเงิน แต่มาพลาดตอนตั้งต้นทำธุรกิจกิฟฟารีน
เมื่อต้องออกจากอาชีพหมอ แล้วมาเริ่มทำธุรกิจขายตรง 9 ปีแรกกับสุพรีเดอร์มจนสุดท้ายต้องแยกกับสามี แล้วได้เงิน 100 ล้านบาทและมาเปิดเป็นกิฟฟารีนในปัจจุบัน ซึ่งตอนนั้นเข้าใจว่ามีเงิน 100 ล้านบาท แต่ความจริงมีเงินสดจริง 85 ล้านบาท เพราะอีก 15 ล้านบาทเป็นเงินของกองทุนแห่งหนึ่งที่เราไม่สามารถไปเกี่ยวข้องได้ ตอนแรกคิดว่าลงทุนใช้เงินทั้งหมด 60-70 ล้านบาท มีเงินให้ลูก 10-15 ล้านบาท แต่พอความยึดติดแบบหมอที่ต้องซื่อสัตย์กับผู้บริโภคมากๆ ลงทุนโรงงานที่ต้องควบคุมการผลิตให้ดี ทำสำนักงานสาขา จนสุดท้ายเหลือเงินในบัญชีเพียง 500 บาท ในวันที่เปิดบริษัทวันที่ 17 มี.ค. 2539 ที่ก็ใกล้ช่วงเวลาจะเกิดวิกฤตฟองสบู่แตก
ตอนนั้นถึงกับไปคุยกับบริษัท กรุงเทพประกันภัย ช่วยคิดเบี้ยประกันภัยว่าถ้าเกิดเสียชีวิตปีนั้นจะได้เบี้ยประกันรวมทั้งหมด 40 ล้านบาท และเขียนพินัยกรรมว่าถ้าเราเสียชีวิตไปจะให้ใครบ้าง รวมทั้งไปขอยืมเงินจากคุณแม่ ซึ่งแม่ถามว่าทำไมต้องมายืมก็ไม่กล้าบอกสาเหตุ จนเพื่อนแนะนำให้ไปกู้เงินญี่ปุ่นด้วยการเสนอโปรเจ็กต์ดีๆ วงเงิน 500 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยแค่ 3 % ตอนนั้นคิดนานจะยืมดีหรือไม่ เพราะลูก 2 คนยังเล็กอยู่ ถ้าเป็นอะไรขึ้นมาเป็นภาระผูกพันกับลูกในระยะยาว
จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้คิดว่า
“ถ้าคิดจะมีหนี้ ต้องดูว่าเราสามารถรับผิดชอบไหวหรือไม่ หรือถ้าเกิดอุบัติเหตุกับเราขึ้นมาทายาทจะสามารถรับผิดชอบปัญหาได้หรือไม่”
จึงกลับมาบอกกับตัวเองว่ามีแพียงแค่ 500 บาทเท่านั้นก็ได้ แม้วันที่เปิดตัวบริษัทและต้องพูดกับคนที่มาฟังกว่า 5,000 คนว่า จะดูแลทุกคนให้ดีที่สุดจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต โดยที่ไม่สามารถบอกใครได้เลยว่าตอนนี้มีเงินเหลือเพียง 500 บาทเท่านั้น ซึ่งสุดท้ายเพียงปีแรกมียอดขาย 300 ล้านบาท และครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่างๆ
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากช่วงวิกฤตที่ตอนเปิดบริษัทเงินเหลือเพียง 500 บาท
เราไม่ได้เป็นคนสู้แบบมวยวัด ไตร่ตรองอย่างมากแม้เหลือเงิน 500 บาท แต่กลับมามองว่าเรายังมีต้นทุนอะไรที่เหลือเอาไว้อีก
1.ต้นทุนสังคม เพราะยังมีความเชื่อถือที่พนักงานเขาเลือกฝากชีวิตไว้กับเรา จากตอนที่ทำสุพรีเดอร์มแบ่งทีมไว้เลยครึ่งหนึ่งที่เขามองด้วยเหตุผลที่นั้นติดตลาดแล้ว แต่อีกครึ่งหนึ่งก็เลือกที่จะมาอยู่กับเรา เพราะเขารักและไว้ใจผู้หญิงคนหนึ่งด้วยการทำขายตรงโดยที่แบรนด์ก็ยังไม่มีใครรู้จัก อย่างน้อยแสดงว่าเขากล้าจะฝากชีวิตกลับเราทำให้เรียนรู้ว่า ถ้าทุกมิติของเราทำตัวเป็นคนที่รักและไว้ใจ พูดคำไหนคำนั้น รักษาสัญญาและมีน้ำใจที่จะทำอะไรแบ่งปันเพื่อคนอื่นเสมอ ในยามที่ท่านลำบากต้นทุนเหล่านี้จะช่วยท่านได้ ถ้าตั้งสติให้ดีๆ
2.เตรียมตัวมาอย่างดี เพราะโรงงานมีความพร้อม ผลิตภัณฑ์สินค้าก็ผ่านกระบวนการมาอย่างดีจากทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทีมการตลาด ตอนนั้นต้องปลุกตัวเองก่อนว่าถ้าเราจิตตก คนที่อยู่กับเราจะยิ่งจิตตกไปกว่าเราอีก หน้าที่ผู้นำตอนนั้นต้องยิ้มสู้ แม้ในใจจะร้องไห้แค่ไหนก็ตาม อย่าทำให้คนที่อยู่กับเรา เห็นเราร้องไห้ไม่เช่นนั้นเขาจะหมดกำลังใจ ยิ่งช่วงนี้โลกของออนไลน์ ดังนั้นอย่าดราม่าและคร่ำครวญอะไรลงบนเฟสบุคเป็นอันขาด
วิกฤตโควิด-19 ทำให้เกิดบททดสอบมากมาย
มุมหนึ่งของโควิด-19 ก็ทำให้เกิดบททดสอบมากมาย โดยเฉพาะคนที่ไม่มีเงินออมหรือสายป่านลำบากกว่าคนที่เตรียมพร้อมไว้ก่อน แต่ก็อย่าได้ซ้ำเติมตัวเอง ต้องบอกกับตัวเองว่าเราจะผ่านไปได้ และเชื่อว่าในอนาคตคนไทยจะรู้จักการออมและไม่ใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายเกินไป เพราะไม่มีใครบอกได้ว่า รวยแค่ไหนถึงจะพอ หรือแค่ไหนถึงจะรวย ถ้าเรามีมาตรฐานความสุขพอดีกับรายได้ รู้จักคำนวณ ค่าใช้จ่ายเท่าไร มีเงินออมเท่าไร พอใช้กับชีวิตก็เป็นเรื่องที่ดี และสิ่งที่ควรสอนเด็กเรื่องออม คือ ควรสอนลูกให้ฝึกออม 10-15 % ของเงินที่มี โดยจะเอาไปอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ที่นักการเงินเขาแนะนำ แต่ควรแบ่งเป็นไปอยู่ในส่วนที่มีความเสี่ยงต่ำสุด 80 % แล้วที่เหลืออีก 20 % ไปเลือกที่มีดอกเบี้ยเยอะหรือที่มีความเสี่ยงสูง
24 ปีของกิฟฟารีนเป็นบริษัทไม่มีหนี้
ทุกปีบริษัทต้องมีเงินไปฝากประจำที่ธนาคารพาณิชย์ แม้ดอกเบี้ยจะต่ำก็ตาม เพราะสามารถที่จะดึงเงินสดมาพร้อมใช้ทันที ไม่มีการกู้หนี้ยืมสิน พนักงานก็จะมีชีวิตที่ดีมีเงินเดือนขึ้น มีโบนัส สวัสดิการที่ดี ตอนเกิดโควิด-19 ใจยังมองไม่ออกแน่นอนเลยว่า ผลกระทบจะเป็นอย่างไร ยอดขายกิฟฟารีนจะตกแค่ไหน และไม่อยากให้พนักงานใจเสีย เลยบอกว่าพนักงานว่าไม่ต้องกลัว จะสู้ให้ดีที่สุด แล้วพนักงานประจำจะไม่มีการลดเงินเดือน ไม่มีการปลดคน และพร้อมจะดึงเงินเก่าที่ดูแลไว้ออกมาใช้ในกรณีที่หากวันใดวันหนึ่ง ต้องปิดบริษัทหรือขายไม่ได้สักบาทเดียว ทั้งหมดนี้เพราะมั่นใจว่า 24 ปี่ผ่านมามีการตุนเงินสดไว้พอ
แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับ Mind Set ส่วนตัวของผู้บริหารแต่ละแห่งด้วยว่าจะมีการยอมเอาเงินส่วนตัวออกมาใช้ หรือจะยกให้รัฐบาลหรือธนาคารพาณิชย์เป็นคนช่วย ทั้งที่เวลธ์ส่วนตัวของผู้บริหารอาจมีมูลค่าเป็นหมื่นล้านแสนล้านบาท สิ่งที่อยากจะพูดตรงๆ ว่า
“คนที่มีบุญเกิดมารวยมหาศาล วันนี้ควรใช้บุญของคุณให้ถูก ดึงเงินส่วนตัวของคุณมาดูแลลูกน้องที่ลำบากว่า แต่ถ้าไม่มีเงินจริงๆ หรือช็อตจริงๆ ค่อยไปขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือธนาคารพาณิชย์ เพราะตอนนี้เขาก็ไม่ได้ให้กู้มั่วๆ”
คำแนะนำการบริหารจัดการเงินของหมอต้อย
หากแบ่งสัดส่วนเงินสำหรับคนที่ไม่ได้มีหนี้เลย ควรกันเงินที่หามาได้เลย 10-15 % สำหรับการออม โดยอีก 10 % สำหรับสร้างกุศล แต่เรื่องทำบุญทำทานไม่ได้ให้หมายถุงการมองโลกนี้หรือโลกหน้า แต่อยากให้มองว่าการสร้างกุศลจะช่วยเกลาใจเราให้คิดถึงคนอื่น เพราะส่วนตัวสิ่งที่เคยกลัวและกังวลอยู่เสมอคือ “กลัวตัวเองที่สุด เพราะวันหนึ่งถ้าจากเป็นคนธรรมดาจะกลายเป็นคนที่มีเงินมากๆ แล้วกลัวมารจะครอบงำ และจะกลายเป็นคนที่มีเท่าไรก็ไม่พอ แล้วพร้อมใช้วิธีไหนก็ได้ที่จะทำให้ได้เงินมา แต่การให้ทานทำให้เรารู้ว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เราควรจะทำ ที่ผ่านมาจะพาคนที่กำลังทุกข์หรือเสียใจไป รพ.สงฆ์เพื่อไปดูพระภิกษุที่ท่านอาพาธ ทำบุญและถวายปัจจัยอาหารแห้ง เพราะจะได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โลภมากไปทำไม
นอกจากนั้น จะแบ่งเงิน 10 % เพื่อตอบแทนหรือให้รางวัลกับตัวเองเพื่อจะได้มีกำลังใจต่อไป เช่น ไปเที่ยว หรือพาครอบครัวไปเที่ยว แต่ทั้งหมดนี้ควรต้องบริหารต้นทุนคงที่ให้ไม่เกิน 40-50 % เผื่อไว้สำหรับอนาคตที่ไม่แน่นอน
ที่ผ่านมาแนะนำให้นักธุรกิจกิฟฟารีนเก็บเงินออม 10% ต่อเนื่อง และอย่าอยากได้อะไรที่เกินตัว
ตั้งแต่แรกที่เปิดบริษัทแนะนำให้พนักงานเก็บเงินออม 10 % ของเงินที่หาได้ ถึงวันนี้ยังคนทำได้น้อยอยู่ เพราะหลายคนพร้อมที่จะนำเงินไปเสี่ยงโชคหวังรอรับดวงใหญ่ โดยพยายามพูดให้เห็นภาพชัดว่า การเก็บออมเป็นเรื่องสำคัญเพราะหากเกิดเหตุจำเป็นฝนตกหลังคารั่วจะมีเงินซ่อมหลังคาหรือไม่ ประกอบกับมีประโยคที่จำแม่นตอนนี้ที่พนักงานขายคนหนึ่งที่ไม่ได้เรียนปริญญาตรีมา แต่สร้างรายได้เติบโตมาต่อเนื่อง และมาขอลาออกเพื่อไปทำบริษัทอื่นที่เขามั่นใจว่าจะสามารถหารายได้มากกว่ากิฟฟารีน โดยเงินเดือนสุดท้ายเขาสร้างรายได้ 400,000 บาท และให้เหตุผลว่าถ้าอยู่กิฟฟารีนน่าจะโตได้ช้าแล้ว อีกทั้งเงินก็ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่มี 800,000 บาท/เดือน เพราะเอาเงินไปผ่อนหลายรายการ บ้าน และรถสปอร์ต ที่ให้เหตุผลว่าการจะชวนคนไปทำขายตรงต้องนั่งรถหรูเพื่อทำให้เขาเชื่อ แต่กลับไม่ได้คิดอย่างนั้น เพราะจะใช้รถยี่ห้อไหนก็ไม่สำคัญ ถ้าไม่มีความสามารถผ่อนเวลาถูกยึดรถขายหน้ามากกว่า และแนะนำให้เขาเปลี่ยนมุมมอง ทำไมไม่ไปบอกคนที่จะไปชวนขายตรงว่าที่ขายกิฟฟารีนจนสามารถปลดหนี้ได้แล้วเค่อยสร้างเนื้อสร้างตัวจากกิฟฟารีน พร้อมโชว์สเตจเมนท์รายได้ที่เข้ามาให้เห็นได้
ขณะที่การขายตรงคือการทำธุรกิจอิสระ เพราะมีเครือข่ายแล้วก็ต้องดูแลเครือข่าย แม้วันหนึ่งที่ต้องยุติการดูแลเครือข่าย ก็ยังมีเงินเหลือเพราะเครือข่ายมีซื้อกินซื้อใช้แต่จะน้อยลง เนื่องจากไม่ได้แอ็คทีฟในการสร้างยอดขาย แต่กรณีนี้หมายถึงการใช้เงินเกินตัว จนทำให้ได้แง่คิดที่ว่า
“อย่าอยากได้อะไรเกินกว่าที่ตัวเองจะมีกำลัง แล้วคุณจะมีความสุข”
มองเหตุการณ์โควิด-19ให้เป็นมุมบวกที่ทำให้ได้เรียนรู้การจัดการความคิดและการเงิน
อยากให้มองเหตุการณ์โควิด-19 เป็นมุมบวกที่มีข้อดีทำให้เรียนรู้ว่า ที่ผ่านมาเราได้จัดการกับการเงินหรือจัดการกับความคิดของตัวเองอย่างไรบ้าง เพราะอย่างตอนที่ยังไม่ค่อยมีเงินหรือยังไม่มีธุรกิจไม่เคยใช้ของแบรนด์เนมเลย มีความสุขกับการซื้อกระเป๋าใบละไม่ถึง 1,000 บาท อยู่ได้ ไม่มีเพชรพลอย
“ความสุขอยู่ที่พอเหมาะพอดีกับรายได้”
แต่พอมีเงินมากขึ้นเราก็สามารถซื้อได้มากขึ้น แต่ก็ยังแบ่งสัดส่วนเงินในการอมอมและใช้ต่อเนื่อง โดยไม่เคยคิดอยากเรือยอรร์ช หรือเครื่องบินส่วนตัว เพราะคิดว่าไม่ใช่สิ่งจำเป็น แต่จะเริ่มสะสมจิวเวอร์รี่หรือนาฬิกาบ้าง และทุกวันนี้เงินปันผลที่ได้รับมา 80 % จะเก็บเป็นเงินสดไว้เลย ส่วน 20 % แบ่งเป็นเงินไว้ใช้และทำกุศลอย่างละ 10 %
ทำชีวิตให้ง่ายอย่าไปทะเยอทะยาน ทำการค้าต้องให้ทุกคน win-win และเตรียมความปลอดภัยทางการเงินไว้ถ้าวันหนึ่งไม่อยู่ต้องไม่มีใครเดือดร้อน
ตอนนี้คิดไว้ว่าถ้าจากโลกนี้ไปจะดีใจอยู่ 2 ข้อ คือ 1.ได้ทำสิ่งที่อยากทำ และ 2.ได้ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะสุดท้ายวันที่สำคัญที่สุด เราเอาอะไรไปไม่ได้จริงๆ และการเจริญมรณานุสติ คือสิ่งที่คิดตลอดว่าพร้อมตายทุกเมื่อ วันนี้ เดี๋ยวนี้ พรุ่งนี้ แต่จิตสุดท้ายถ้าคิดดีก็จะไปดีก่อน คิดไม่ดีก็จะห่วงวนเวียนอยู่อย่างนั้น
ความจริงเงินคือวัตถุสมมุติ อย่าให้ชีวิตทุกข์เพราะเงิน ถ้าเราบริหารเงินเป็นเราจะไม่ทุกข์เพราะเงินเลย
ถ้ารู้ว่าอยากได้อะไรก็ต้องรู้จักหารายได้ อย่าขี้เกียจ อย่าดูถูกเงินน้อย 2 เดือนที่หยุดอยู่บ้านก็เห็นหลายคนหารายได้อย่างอื่น เมื่อก่อนเวลานักขายที่ทำยอดแต่ละปีของกิฟฟารีน จะพาไปฮ่องกงและสิงคโปร์เพื่อให้เขาเห็นว่าเป็นประเทศที่เล็กนิดเดียว ทรัพยากรมีน้อยมาก แต่เขารวย ถ้าคนไทยหัดทำการค้าเป็นและเป็นการค้าที่สุจริต
“ทำการค้าที่ดีต้องรู้จักคำว่า win-win หมายความว่า ตัวเราได้ คนซื้อได้ และไม่มีใครถูกหลอกหรือไม่มีใครเสียเปรียบ การค้าที่ยังยื่นก็จะสร้างรายได้ที่ยั่งยืนได้ คนไทยควรหัดทำธุรกิจ เริ่มจากหัดทำการค้าเล็กๆ น้อยๆ อาจจะชั่วคราวสำหรับช่วงวิกฤตแต่หากเหตุการณ์ปกติก็เท่ากับจะมีอาชีพที่สองได้ หรืออาจทำให้เจอเหตุการณ์เป็นอาชีพหลักไปเลยก็ได้”
การทำชีวิตให้ง่าย อย่าไปทะเยอทะยานใช้ในสิ่งที่เราไม่มีปัญญา เพราะเรามาจากชีวิตครอบครัวรับราชการที่มีรายได้น้อย พ่อกับแม่เล่าให้ฟังคุณตาคุณยายให้ช้อนส้อมมาคู่เดียวตอนแต่งงานเพราะให้การศึกษาลูกเรียนจบแล้ว เปรียบการใช้ชีวิตคู่เหมือนช้อนกับส้อม เคียงคู่กันและสร้างเนื้อสร้างตัวเหมือนที่ตากับยายช่วยกันสร้างเนื้อสร้างตัว
และสิ่งที่เตรียมไว้อย่างหนึ่ง
“ความปลอดภัยทางการเงินให้คิดเปรียบเทียบว่า ถ้าเกิดนอนแล้วไม่ตื่นขึ้นมา จะต้องไม่มีใครมาเดือดร้อนเพราะเราเรื่องเงิน แล้วก็ต้องให้รางวัลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย และยังเหมือนเป็นการปกป้องคนอื่นด้วย”
กับดักการใช้เงิน อย่าเป็นเหยื่อสิ่งที่อยู่ในใจตัวเอง เอาสิ่งที่ดีชนะได้
กับดักการใช้เงิน เกิดจาก 2 ทาง 1. กับดักทางความคิดที่คนรายล้อมอยู่ล้อมข้างจะยื่นอย่างไรมา อยู่กับใครก็จะคิดอย่างนั้น อยู่กับคนที่คิดดีก็ดี อยู่กับคนที่คิดไม่ดีก็เขว่ เช่น ถ้าอยู่กับเพื่อนที่เชียร์ให้ซื้อของที่ต้องแพง หรือการซื้อบ้านเกินกำลังผ่านไปก็ไม่ดี 2.ความโลภและความอยากจนเกินกว่าเหตุ และดึงความโลภของตัวเองกลับสู่บรรทัดฐานของตัวเองไม่ได้ก็จะเกิดความเสี่ยงทางการเงินทันที ว่าควรจะซื้อในสิ่งที่ไม่ควรซื้อ จะผ่อนในสิ่งที่ไม่ควรผ่อน สร้างหนี้จนบางคนอาจถึงขั้นไปสร้างหนี้นอกระบบซึ่งดอกเบี้ยสูง ดังนั้นอย่าเป็นเหยื่อสิ่งที่อยู่ในใจตัวเอง สามารถเอาสิ่งที่ดีชนะได้ และการทำงานหรือทำธุรกิจ อย่าเป็นคนขี้เหนียว ต้องรู้จักแบ่งปัน มีน้ำใจไมตรีและอย่าใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย
ที่ผ่านมาอาจจะยังไม่ค่อยมีคนชีนเรื่องวินัยทางการเงิน
อาจจะพูดเหมารวมทั้งหมดไม่ได้ว่าคนไทยไม่มีวินัยการเงิน เพราะอาจจะไม่มีใครไปชี้แนะเขา ถ้าวันนี้มีคนชี้แนะให้มองอะไรไกลๆ จากคนที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรมาก็ใช้เงินแบบหนึ่ง วันหนึ่งทีมีเงินมากขึ้นก็ใช้เงินมากขึ้น แต่ก็ควรใช้หลักคณิตศาสตร์ในการเก็บเงินออมส่วนหนึ่ง โดยใช้เงินที่่มีให้เป็นประโยชน์ หรือถ้ามีเงินแล้วรวย แต่ขี้เหนียวมากไม่รู้จักแบ่งปัน ก็ถือว่าเสียทีที่เกิดมารวย และการที่แต่ละคนวัดเป้าหมายทางการเงินที่ต่างกัน เพราะแต่ละคนจะมีต้นทุนคงแตกต่างกัน เช่น ค่าเล่าเรียนลูกระดับปริญญาอะไรบ้าง ค่าผ่อนรถผ่อนบ้าน ต้องกันเงินไว้เท่าใด ซึ่งถ้าไม่เหลือเงินออมก็ต้องหาเงินเพิ่มในช่องทางอื่นเพิ่มเพื่อทำให้มีความปลอดภัยทางการเงิน
เมื่อเกิดโควิด-19 ให้กำลังใจกันอย่าซ้ำเติม
ต้องบอกตัวเองว่าไม่เป็นไร แล้วอย่าไปซ้ำเติมตัวเอง แต่ให้ถือเป็นบทเรียนที่ผ่านมาว่า พลาดเพราะเราไม่มีเงินออม
ต่อไปนี้ถ้าเข้าสู่สภาพปกติ จะต้องเริ่มออมเงินอย่างจริงจัง หรือถ้ายังมีไม่พอ ต้องรู้จัก ขยัน ทำมาหากินหาช่องทางที่สุจริต อย่าทำธุรกิจที่เป็นสีเทา เพราะนอกจากจะไม่ยั่งยืนแล้วจะเป็นการมาทำร้ายเรา ช่องทางการหารายได้อย่างสุจริตมีเยอะแยะในประเทศไทย หรือตอนนี้ช่วงที่ไม่มีรายได้ก็มีรายได้ช่องทางที่ 2- 3 ความจริงขายตรงเป็นธุรกิจที่สามารถทำช่วงนี้ได้ โดยเลือกบริษัทที่ดีที่เหมาะกับตัวเอง แต่มีสินค้าที่กลุ่มเป้าหมายเพื่อนๆ ชอบซื้อหรือซื้อใช้เอง แล้วลองศึกษาช่องทางทำงานออนไลน์ว่าจะเป็นช่วงหนึ่งหรือตลอดไป ควรใช้ความเศร้า ความกลัวหรือตกใจตอนนี้เป็นพลังที่ซ่อนเร้นเอาไว้ วันหนึ่งที่เข้าสู่ภาวะปกติจะทำให้เราไม่ลืมวันที่เราลำบากและวิกฤตก็อาจจะกลับมาอีกได้ในอนาคตก็ได้ แต่เชื่อเถอะว่าจะไม่เลวร้ายเหมือนครั้งนี้
คำแนะนำผู้ประกอบการช่วงโควิด-19
ปัญหามี 2 อย่าง คือแก้ได้กับแก้ไม่ได้ เช่น ส่งออกไปยังประเทศที่เขาลำบาก การค้าอาจมีการชำระสินค้าช้าลง เลื่อนคำสั่งซื้อไปก่อน แต่ก็ต้องเลี้ยงพนักงาน ซึ่งน่าเห็นใจผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กไม่ได้มีเงินหมุนมากพอ แต่กำลังเติบโต ก็ต้องให้รัฐบาลช่วยให้ถูกธุรกิจถูกกลุ่ม แต่ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ต้องปรับตัวว่าเราไม่อาจพึ่งสินค้าเดียวอย่างเมื่อก่อนแล้ว ลองใช้วิธีคิดที่จะศึกษาเกิดนวัตกรรม เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่จะช่วยทำให้ถ้าคิดออกจะทำให้ไปได้ไกล
อย่างกิฟฟารีนปีนี้ก็เติบโตจากปีที่แล้วมากกว่า 10 % ได้เช่นกัน เพราะบังเอิญที่ไม่หยุดคิดมีการสอนนักขายเรื่องธุรกิจออนไลน์มาตั้งแต่ 5 ปี ก่อนในทุกระดับตั้งแต่รากหญ้า กลาง และแอดวานซ์ ซึ่งกลายมาสัมฤทธิ์ผลปีนี้พอดี จากที่คิดว่าปรับเพราะดิสรัปชั่นกลายเป็นโอกาสในการขายพอดีที่เตรียมตัวพร้อม เมื่อก่อนคนกลัวมาตื้อขายสินค้าไม่หยุด แต่ตอนนี้ทุกอย่างซื้อขายออนไลน์ได้ทำให้ไม่ต้องเจอตัว และทำให้ผู้บริโภคไม่กลัวการซื้อของออนไลน์โดยเฉพาะในแบรนด์ที่เขามีความมั่นใจ
“อย่าเพิ่งเสียใจ หรือจิตตก สติจะทำให้ดึงปัญญากลับมาได้ ปัญหาก็จะทำให้มองว่าเราจะไปทางไหนไม่เลวร้ายจนเกินไป ลองตั้งสติและลองถามตัวเองว่าจะพลิกเครื่องจักร คน แรงงาน หรือทรัพยากรที่มีเอาไปทำอะไรที่เป็นประโยชน์ด้านใดได้บ้างเพื่อมาหล่อเลี้ยงองค์กรได้”
ส่วนตัวเชื่อว่านักธุรกิจไทยมีความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ ซึ่งคนไทยเอาชนะหลายประเทศได้เพราะความซื่อสัตย์ มีฝีมือ และความจริงใจ แม้เรา