top of page

Executive Summary: McKinsey & Co. Session 2 - How to respond effectively to the crisis!

อัปเดตเมื่อ 10 เม.ย. 2563



Speakers from McKinsey & Co.


Tunnee Sinburimsit, Expert Associate Partner

Ed Lock, Partner

Parimol Karnchanachari, Partner

Dr. Tomas Koch, Senior Partner


สำหรับเหตุการณ์การติดเชื้อ COVId-19 ทั่วโลก มีผู้ติดติดเชื้อ ณ วันที่ 7 เมษายน 2563 มีผู้ติดเชื้อแล้วทั่วโลกอยู่ที่ 1.43 ล้านคน และมีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 81,800 คน เมื่อเรามาดูสถานการณ์ในแต่ละประเทศเราจะเริ่มเห็นว่าในเมืองจีนได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศอย่างอเมริกาหรืออังกฤษก็ยังพุ่งสูงขึ้นอยู่ สำหรับการประเมินถึงผลกระทบของ COVID-19 ต่อ GDP ในประเทศไทย ทาง McKinsey & Co. ได้ประเมินโดยการตั้งสมมุติฐานที่สำคัญไว้ 2 ปัจจัย คือ

1. ประเทศไทยสามารถที่จะควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยได้ผลในระดับหนึ่ง 


โดยทาง McKinsey & Co. ประเมินว่าว่าอัตราการเติบโตของ GDP ในประเทศไทยในปี 2020 จะติดลบอยู่ที่ -2.1% และจะใช้เวลาถึงไตรมาศแรกของปี 2021 หรือเกือบหนึ่งปี กว่าที่ GDP ของประเทศจะกลับมาสู่จุดเดิมคือก่อนวิกฤตการณ์ COVID-19 เนื่องมาจากว่ากว่า 30% ของ GDP ของประเทศไทยมาจากภาคธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบที่รุนแรงและมักจะใช้เวลานานในการเรียกความมั่นใจของนักท่องเที่ยวให้กับมาเหมือนเดิม ปัจจัยที่สองคือภาคธุรกิจไทยประกอบไปด้วยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อยเป็นจำนวนมาก อาจจะประสบความยากลำบากในการวิ่งหาแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งสามารถที่จะวิ่งเข้าไปหาแหล่งเงินทุนได้ง่ายกว่า ด้วยปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นทำให้ผลกระทบของวิกฤต COVID-19 ค่อนข้างรุนแรงในประเทศไทย


ในขณะเดียวกันเราเริ่มเห็นแล้วว่าผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อสุขภาพจิตเริ่มส่อเค้าออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนเนื่องจากมาตราการ Social Distancing หรือ Work From Home (WFH) จากการวิจัยของ McKinsey ในประเทศอเมริกาพบว่า อัตราการดื่มแอลกอฮอล์หรือแม้แต่การใช้ยาเสพติดมีแนวโน้มที่สูงขึ้น นอกเหนือไปกว่านั้นทุกคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ได้ทันตั้งตัวที่จะรับมือกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นจนทำให้เกิดความเครียดและความกังวล ส่วนภาคธุรกิจเองก็เริ่มเผชิญความยากลำบากในการที่จะวางแผนธุรกิจหรือไม่ก็หาเงินสดมาสนับสนุนธุรกิจของตัวเอง ทาง McKinsey & Co. เองได้แนะนำแนวทางที่ภาคธุรกิจสามารถรับมือกับสถานการณ์วิกฤตการณ์แบบนี้โดยสรุปแนวทางการรับมือเป็นสองช่วงเวลาคือ 


ช่วงเวลาปัจจุบัน

  • Resolve - การรับมือกับเรื่องเร่งด่วนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพนักงานลูกค้า เทคโนโลยี หรือ พันธมิตรทางธุรกิจ

  • Resilience คือการที่ดำเนินการทางธุรกิจอยู่แต่ต้องปรับเปลี่ยนทั้งแผนการเงินและแผนปฏิบัติการเพื่อให้ธุรกิจยังอยู่รอดได้ 


ช่วงเวลาอนาคต 

  • Return ถ้าถึงเวลาที่องค์กรธุรกิจต้องกลับมาทำธุรกิจเหมือนเดิม องค์กรจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องใด 

  • Reimagination ก็คือเรื่องของ New Normal ที่เราพูดกันถึงนั่นเอง ว่าเราจะสร้างองค์กรขึ้นมาเป็นองค์กรรูปแบบใหม่ได้ยังไง

  • Reform เป็นเรื่องของการรับมือในเรื่องของการเปลี่ยนกฎระเบียบในการธุระกิจจากภาครัฐรวมถึงความสามารถในการแข่งขันขององค์กรรวมถึงอุตสาหกรรมใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นหลังจากวิกฤต COVID-19 



เพื่อที่จะให้การรับมือในระยะสั้นและระยะยาวสำเร็จผลทาง McKinsey & Co. แนะนำว่าองค์กรจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในเรื่องสำคัญ 7 ประการด้วยกันคือ 


1. Nerve Center - Strong coordination & decision 


Nerve  Center จะเป็นส่วนสำคัญในการประสานอีกทั้งมีส่วนในการตัดสินใจ ซึ่งคนที่จะเกี่ยวข้องคือ CEO จนถึงผู้บริหารระดับสูงในองค์กร เพื่อที่จะดูแลในเรื่องที่สำคัญ 4 เรื่องด้วยกัน

  • เงินสด การประเมินกระแสเงินสด รวมถึงการควบคุมการใช้เงินสด

  • ปฏิบัติการ การดูแลพนักงานการปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางด้านธุรกิจ

  • Supply Chain การดูแลพันธมิตรทางการค้าและคู่ค้า (Supplier)

  • Customers การดูแลลูกค้าและช่องทางใหม่ๆ


ข้อเสนอแนะก็คือองค์กรควรที่จะสร้าง dashboard ขึ้นมาเพื่อช่วยในการสื่อสารถึงเรื่องเร่งด่วนที่ Nerve Center ต้องดูแลอีกทั้งเป็นการสร้างความโปร่งใสของสถานการณ์ที่แท้จริงขององค์กร


2. Manage Cash Closely


การจัดการเงินสดซึ่งเป็นเหมือนเส้นเลือดขององค์กรคือต้องเข้าใจถึงสถานการณ์ปัจจุบันขององค์กรจนถึงการประเมินการไปอนาคตขององค์กร คำถามที่สำคัญก็คือทำอย่างไรที่องค์กรจะสามารถรักษาสภาพคล่องและเงินสดไว้ได้ แล้วก็มีเงินสดเพียงพอที่จะใช้ในอนาคตอันใกล้ ทาง McKinsey & Co. ยังแนะนำอีกว่าองค์กรควรที่จะวางแผนระยะยาวในเรื่องของเงินสดที่จะเข้ามาแล้วก็รวมถึงสภาพคล่องโดยใช้ Scenario planning ต่างๆที่มีการพูดไปแล้วอย่างละเอียดใน Session แรก (สามารถดูได้จาก LINK) โดย Scenario Planning เป็นการผสม 2 ปัจจัยเข้าด้วยกัน


  • ปัจจัยแรกคือความสามารถของประเทศในการจัดการเรื่องของการแพร่ระบาด

  • ปัจจัยถัดไปเป็นความสามารถของรัฐบาลในแต่ละประเทศในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศว่ามีประสิทธิภาพมากหรือน้อยเพียงไร 


แต่เมื่อองค์กรอยู่ในสถานการณ์ซึ่งเงินสดอาจจะมีไม่เพียงพอ สิ่งที่สำคัญคือองค์กรจำเป็นที่จะต้องวางแผนล่วงหน้าประมาณ 13 สัปดาห์ เพื่อที่จะดูว่าเงินจะขาดเมื่อไหร่ แล้วจะสร้างแผนมารองรับยังไงได้บ้างหรือที่เราเรียกว่าเป็นวันแดงเดือดหรือ 'Red Day' คือวันที่เงินสดติดลบและมีไม่พอนั้นเอง ถ้าไม่ได้ประเมินกันไว้ก่อนอาจจะหาแหล่งเงินสดมาได้ไม่ทันกับภาระที่ต้องจ่ายเงินออกไป องค์กรต้องอยู่ในความเป็นจริงว่าเรามีเงินสดพอไหมที่จะต้องจ่ายออกไปตามพันธะผูกพันหรือสามารถที่จะหามาจากไหน ทาง McKinsey & Co. แนะนำว่าให้เราพิจารณาเฉพาะเจาะจงไปในเรื่องของรายรับและรายจ่ายในแต่ละรายการโดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัยคือ 


  1. ปัจจัยของผลกระทบของเงินสดนั้นต่อฐานะการเงินขององค์กร กล่าวคือ รายรับหรือค่าใช้จ่ายนั้นมีผลกระทบที่ สูง กลาง หรือต่ำ กับสถานการณ์เงินสดของบริษัท 

  2. ปัจจัยรายรับและรายจ่ายนั้นสร้างผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทในระยะสั้น (ไม่เกิน 90 วัน) ระยะกลาง (3-6 เดือน) หรือว่าระยะยาว (6 เดือนขึ้นไป) 


ตัวอย่างของกิจกรรมทางการเงินที่สร้างผลกระทบต่อเงินสดขององค์กรที่มากจะใช้เวลาน้อยคือ การขายพวกสินค้าคงคลัง หรือไม่เป็นการชะลอการลงทุนโครงการใหม่ๆออกไป ตัวอย่างของกิจกรรมที่สร้างผล กระทบต่อการเงินไม่มากและสามารถทำได้อย่างรวดเร็วคือการลดเงินเดือนพนักงานหรือการเก็บเงินซึ่งมียอดคงค้าง (overdue) แต่เป็นที่น่าสนใจว่าผลกระทบไม่มากเท่าไร แต่ต้องแลกมากับการเสียขวัญและกำลังใจของพนักงาน


3. Support Employees and Operations


เป็นเรื่องการดูแลพนักงานซึ่งความท้าทายที่เราเริ่มเจอกันตอนนี้ก็คือ พนักงานเริ่มมีคำถามเกี่ยวกับนโยบาย Work From Home (WFH) พนักงานบางท่านสังสัยเกี่ยวกับความยุติธรรมว่าทำไมพนักงานบางคนสามารถทำงานจากบ้านได้แต่บางคนต้องมาทำงานที่ออฟฟิศเหมือนเดิมในขณะเดียวกันองค์กรก็จะเริ่มเห็นความท้าทายใหม่ๆในการที่จะสร้างขวัญและกำลังใจของพนักงานทั้งที่ทำงานแบบ Work From Home พร้อมกันกับเพื่อนร่วมงานที่ยังมาทำงานที่ออฟฟิศเหมือนเดิม นอกจากนั้นเรายังเรียนรู้จากประเทศจีนที่เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติจากวิกฤตของการติดเชื้อ COVID-19 เราจะเห็นว่าภาคธุรกิจที่เมืองจีนที่เริ่มมีการวางแนวทางปฏิบัติของพนักงานในเรื่องของสุขภาพลักษณะก่อนที่ทุกคนจะกลับเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ 


ดังนั้นสิ่งที่องค์กรสามารถจะช่วยได้ในเรื่องนี้มี 4 ประการด้วยกัน


  • พนักงาน (People) เรื่องแรกเป็นเรื่องของพนักงานคือต้องดูแลเรื่องจิตใจรวมถึงการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอกับพนักงาน

  • โครงสร้าง (Structure) เป็นเรื่องของโครงสร้างซึ่งรวมถึงเป้าหมายและผลลัพธ์โครงการทำงานรวมถึงกระบวนการการตัดสินใจ

  • กระบวนการ (Process) เป็นการสร้างความเข้าใจให้ตรงกันในเรื่องขอบเขตของงานจนถึงขบวนการการตัดสินใจ 

  • Technology หมายถึงการเอา Technology ที่มีส่วนช่วยในการทำ Telework อย่างเช่น การทำ Video Conference และนโยบายในการทำ Remote working 


4. Derisk Supply Chain


ในเรื่องของการลดความเสี่ยงของ Supply Chain เราแบ่งมาตรการออกเป็น 2 ระยะ คือ 


  1. มาตรการระยะสั้น - องค์กรต้องเข้าใจก่อนว่าความต้องการในสินค้าและบริการของลูกค้ามีการปรับเปลี่ยนไปมากแค่ไหนและมีผลกระทบต่อคู่ค้าหรือ supplier ของเรามากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญจะต้องมีการวางแผนการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทานที่เปลี่ยนแปลงไป 

  2. มาตรการระยะกลางและระยะยาว - เราสามารถเรียนรู้จากมาตรการรับมือในระยะสั้น เพื่อวางแผนในการทำ Supply Chain ได้หรือแม้แต่ดูถึงมาตรการอื่นๆ เช่นการช่วยเหลือทางการเงินของคู่ค้าและ Supplier ในขั้นตอนนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างความสมดุลของการผลิตหรือว่า Supply Chain of Optimization เป็นสิ่งที่บริษัทในเมืองจีนได้เริ่มนำเอามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงที่ต้องรับมือกับโรคระบาด 


5. Close to Customers


จากรายงานทาง McKinsey & Co. ได้ระบุว่าจำนวนประชากรที่ถูกจัดว่าเป็นกลุ่มประชากรที่มีกำลังซื้อมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยทาง McKinsey & Co. ประเมินว่าภายในปี 2030 จะมีสัดส่วนของประชากรที่มีกำลังซื้อเป็นจำนวนถึง 51% ของจำนวนประชากรทั้งหมดของโลก ดังนั้นนี้อาจจะเป็นข่าวดีที่ว่ากำลังซื้อจะมีมากขึ้นและจำนวนที่มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยวิกฤต COVID-19 ย่อมที่จะส่งผลกระทบถึงความต้องการของสินค้าและบริการอย่างเลี่ยงไม่ได้


ซึ่งจากงานวิจัยของทาง McKinsey & Co. ที่ทำกับกลุ่มประชากรในเมืองไทยจำนวน 3,875 คนพบว่า 52% ผู้บริโภคมีความรู้สึกกลัวที่จะออกไปข้างนอกเพื่อจับจ่ายจะซื้อสินค้า 69% กลัวว่าสถานการณ์ทางการเงินของครอบครัวจะเปลี่ยนแปลงไปและจะไม่สามารถจับจ่ายได้เหมือนเดิม  40 เปอร์เซ็นต์บอกว่าได้เปลี่ยนแผนการจับจ่ายเพราะวิกฤต COVID-19 


6. Cybersecurity


วิกฤต COVID-19 ทำให้องค์กรอยู่ในภาวะเสี่ยงในเรื่องของ Cybersecurity เพราะว่าการใช้ Remote Access ยอมที่จะเปิดโอกาสให้ Hecker มาขโมยความลับหรือการปล่อย Malware หรือ Email Frauds หรือการเข้าไปปล่อยไวรัสในเว็บไซต์ที่มีระดับความปลอดภัยที่ต่ำ ดังนั้นแนวทางการรับมือที่ CISO (Chief Information System Officer) สามารถช่วงองค์กรและสามารถทำได้มีอยู่ 3 เรื่องด้วยกัน


  1. พนักงาน จะต้องมีการสื่อสารเรื่องความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และพยายามสร้าง Eco System ของการทำ Work From Home

  2. เทคโนโลยีต้องสนับสนุนให้พนักงานสามารถทำงานแบบ Remote Work โดยยังสามารถใช้ Application และระบบงานที่สำคัญขององค์กรไม่ว่าจะเป็นการแชร์ไฟล์หรือเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารในองค์กร

  3. กระบวนและขั้นตอนที่ช่วยในเรื่อง Cyber Security ที่ทาง CISO สามารถออกมาเพื่อสนับสนุนในการทำงานที่เปลี่ยนไป หรือการให้ความช่วยเหลืออย่าง IT help desk เป็นต้น


7. Plan ahead team: Look ahead and plan in detail for the future


สำหรับในเรื่องสุดท้ายองค์กรจำเป็นที่จะต้องมองไปข้างหน้าโดยแบ่ง Working Team ออกไปตามหัวข้อที่สำคัญตัวอย่างเช่น ทีมที่ดูในเรื่อง Work From Home ทีมที่ดูแลแผนฉุกเฉินของบริษัท ทีมที่ดู Supply Chain ทีมสนับสนุนลูกค้าแต่ขณะเดียวกัน องค์กรจำเป็นที่จะต้องจัดตั้ง Working Team ที่มองไปข้างหน้าไม่ว่าจะเป็นทีมที่ประเมินเรื่องของ Scenario ที่น่าจะเป็น ทีมที่ดูเรื่องแผนกลยุทธ์ ทีมที่ดูเรื่องการกลับมาดำเนินธุรกิจเพื่อให้เข้าสู่ภาวะปกติ และสุดท้ายทีมที่ดูเรื่องกลยุทธ์ใหม่ที่สอดคล้องกับรูปแบบทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปหรือ New Normal 



สำหรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของการทำธุรกิจซึ่งควรจะมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวและสามารถที่จะปรับขนาดได้ ทาง McKinsey & Co. มองว่ายังไงก็ตามเรากำลังเดินไปสู่จุดที่วิกฤตการณ์ COVID-19 จะสิ้นสุดลง ดังนั้นเมื่อเราพูดถึงเรื่องของ New Normal ซึ่งเราจะเห็นว่ามีแนวโน้มที่ชัดเจนอยู่ 5 เรื่อง


  1. เทคโนโลยีจะทำให้เราปรับตัวในการทำงานแบบ Remote work หรือการทำงานแบบผสม (Hybrid working model)

  2. ผู้บริโภคมีความเป็นสากลมากขึ้นและคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีอย่าง e-commerce (Online Shopping)

  3. จะเกิดภาคอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูงหรือที่เรียกว่า Superstar Sector เนื่องมาจากการควบรวมของบริษัทหรือไม่ก็เป็นโอกาสใหม่ๆทางด้านธุรกิจที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มธุรกิจ

  4. ผู้คนเริ่มลดการเดินทางที่ไม่จำเป็นแล้วหันมา Work From Home มากขึ้นซึ่งจะเป็นรูปแบบใหม่ในการทำงานในอนาคต

  5.  คนจะให้ความสำคัญในเรื่องของสุขภาพรวมถึงความโปร่งใสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ทั้งในเรื่องการทำงานและเรื่องส่วนตัว


ทาง ห่วงใย Thai Business ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาจากทาง McKinsey & Co. ที่สละเวลามาให้ความรู้และมุมมองที่เป็นประโยชน์ สำหรับเอกสารและแหล่งข้อมูลจาก McKinsey & Co. สามารถดูได้จาก LINK


สำหรับ Session ถัดไปของ McKinsey & Co. Expert Series จะพูดกันในเรื่อง Consumer Behavior in a New Normal โดยสามารถที่จะส่งทะเบียนได้ที่ REGISTRATION


ถอดความโดย


ดร. ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ


ดู 409 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด