Impact of COVID-19 on Thailand Tourism

McKinsey & Co. Expert Series Session 4
Impact of COVID-19 on Thailand Tourism
ในหัวข้อแรกเรื่องผลกระทบของ COVID-19 กับการท่องเที่ยวในประเทศไทยทาง McKinsey ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากบริษัทชั้นนำ 5,000 บริษัทเพื่อมาดู Market Capitalization จะเห็นว่าภายหลังจากการเกิดวิกฤติ COVID-19 มูลค่ารวมของบริษัทมีการลดลงในทุกๆ Sector โดย Sector ที่ได้รับผลกระทบสูงเป็นอันดับต้นๆก็คือ Sector ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยมีการปรับลบของ Market Capitalization ไปกว่า 35% ด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีธุรกิจซึ่งไม่ได้รับผลกระทบหรือได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย เช่นธุรกิจที่ทำเกี่ยวกับเรื่องเวชภัณฑ์เรื่องของการค้าปลีกหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเมดิคอลเทคโนโลยี
แล้วเรายังเห็นอีกว่าในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีการจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่จำเป็นเป็นปริมาณซึ่งไม่ได้ลดน้อยลงไป แต่เมื่อเรามามองเฉพาะในเมืองไทยถ้าเราเอาราคาหุ้นของกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและการท่องเที่ยวโดยตรงมาดู เราจะเห็นได้ว่า
เมื่อเราแบ่งช่วงเวลาเป็น 3 ช่วงก็คือช่วงที่เราเริ่มได้ข่าวการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งก็คือ
ช่วงแรกเป็นต้นเดือนมกราคม
ช่วงเวลาที่ 2 เป็นช่วงเวลาซึ่ง COVID-19 ได้แพร่ระบาดในประเทศไทยแล้วคือนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์จนถึงกลางเดือนมีนาคม
ส่วนช่วงเวลาที่ 3 เป็นช่วงเวลาหลังจากกลางเดือนมีนาคมก็คือประเทศไทยเองได้เริ่มมาตรการ Lockdown แล้ว
โดยในช่วงแรกราคาหุ้นของธุรกิจที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงแรมธุรกิจสายการบิน มีการปรับตัวเล็กน้อยแต่เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าราคาหุ้นของกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการเดินทางมีการปรับตัวอย่างรุนแรงมากกว่า 50% ด้วยซ้ำไป แต่ถ้าดูจนถึงระยะที่ 3 จะเริ่มเห็นการปรับตัวของราคาหุ้นที่สูงขึ้นอาจจะเนื่องมาจากมาตรการของภาครัฐที่ออกมากระตุ้นทำให้สถานการณ์โดยรวมดูเหมือนว่าจะดีขึ้นกลับคืนมาดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าเมื่อเราดูจากจำนวนของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาที่ประเทศไทยจะมีการปรับตัวลดลงซึ่งเดาว่าน่าจะเป็นส่วนของการปรับตัวตามฤดูกาล แต่อย่างไรก็ตามเมื่อดูเรื่องของอัตราการเข้าพักของห้องพักก็จะมีการปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับตัวลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในประเทศไทยจากเดิมในการประเมินว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 60 ล้านคน แต่การประเมินรอบใหม่มองว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงเหลือแค่ 16 ล้านคนเท่านั้นเอง ซึ่งก็สอดคล้องกับการประเมินสถานการณ์ของผู้ประกอบการไทยที่ดูแล้วหลายโรงแรมมีการประเมินว่าในเดือนเมษายนจะไม่มีรายรับเข้ามา
มีจำนวนกว่า 3 000 โรงแรมที่ประเมินว่าจะไม่มีรายรับเข้ามา มีจำนวนพนักงานในภาคอุตสาหกรรมโรงแรมกว่า 1.6 ล้านคนซึ่งจะได้รับผลกระทบมีจำนวนโรงแรมในกรุงเทพฯปิดตัว ณ วันที่ 22 เมษายน 2563 อยู่ที่ 27 โรงแรม ถ้ามองดูในสถานการณ์ที่ภูเก็ตมีโรงแรมกว่า 87% ได้ปิดเพราะว่ามาตรการล็อคดาวน์ของทางภาครัฐจำนวนนักท่องเที่ยวที่ประเมินว่าจะเดินทางเข้ามาที่เมืองไทยลดลงกว่า 60% เหลืออยู่จำนวนประมาณ 19 ล้านคนเท่านั้นเอง
ตัวอย่างที่ภาคอุตสาหกรรมโรงแรมจำเป็นต้องปรับตัว โรงแรม Centara มีการประกาศปิดโรงแรมจำนวน 28 โรงแรมแล้วก็มีการปรับลดเงินเดือนพนักงานลง 25% ทางด้านกลุ่มโรงแรมของ Minor Hotel ก็มีการปิดโรงแรมในกรุงเทพฯทั้งหมดส่วนโรงแรมบีทูซึ่งเป็นโรงแรมก็มีการลดลงของอัตราการเข้าพักจากเดิมอยู่ในระดับ 70-90 เปอร์เซ็นต์ลดลงเหลือแค่ 10% ในกลางเดือนมีนาคมเท่านั้นเอง
แนวโน้มของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต
เริ่มจากการเดินทางภายในประเทศจะฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากกรณีในประเทศจีน ในสิ่งที่สามารถเห็นได้ก็คือว่าแค่กลางเดือนกุมภาพันธ์อัตราการเดินทางภายในประเทศของเมืองจีนก็มีการปรับตัวสูงขึ้นถึงแม้ว่ายังไม่กลับมาสู่ในระดับเดิม อย่างไรก็ตามการเดินทางระหว่างประเทศก็ยังมีแนวโน้มที่ลดลงต่อเนื่อง ส่วนอัตราการเข้าพักถ้าเราแบ่งระดับของโรงแรมเราจะเห็นได้ว่าการเข้าพักของโรงแรมในระดับล่างหรือ economy เพิ่มขึ้นสูงที่สุดคือเพิ่มขึ้นกว่า 23 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบในเดือนมีนาคมเดือนเดียวซึ่งอาจจะมาจากที่ว่าโรงแรมในกลุ่ม Middle หรือ Economy เป็นสถานที่ที่ใช้ในการกลับกันผู้ที่อาจจะติดเชื้อ COVID-19 แต่กลุ่มโรงแรมระดับ Luxury จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดภายในเดือนมีนาคมซึ่งมีแค่ประมาณ 12% เท่านั้นเอง สิ่งที่ McKinsey ได้ตั้งข้อสังเกตก็คืออายุเฉลี่ยของผู้เดินทางมีอายุเฉลี่ยที่น้อยลงหรือว่าเป็น Young Adult ที่เริ่มเดินทาง อีกแนวโน้มนึงก็คือการจองตั๋ว Last minute Booking ซึ่งก็คือการจองตั๋วโดยมีระยะเวลานับตั้งแต่วันที่จองตั๋วถึงวันเดินทางน้อยกว่า 7 วันเพิ่มขึ้นกว่า 90%
เมื่อดูแนวโน้มของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเราจะพบแนวโน้มที่ชัดเจนอยู่ 5 ประการด้วยกันก็คือ
1. มีการควบรวมกิจการของผู้เล่นในอุตสาหกรรมมากขึ้น
ตัวอย่างเช่นอุตสาหกรรมการบินในช่วงปี 2017-2018 เราจะเห็นการควบรวมของกิจการมากขึ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะเหลือสายการบินขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนไม่มากนักซึ่งเราก็จะเห็นแนวโน้มเรื่องการควบรวมกิจการของผู้เล่นในอุตสาหกรรมอนาคตอันใกล้
อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือผู้เล่นในอุตสาหกรรม OTA หรือว่า Online Travel Agent ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจรวมถึงมีการควบรวมกันของกิจการและในขณะเดียวกันก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้เล่นไลน์ใหม่ๆยกตัวอย่างเช่น Google ซึ่งตอนนี้กำลังประสบปัญหาที่รายรับในเรื่องของโฆษณามีการปรับตัวลดลงซึ่งอาจจะเปิดทางให้ Google ลงมาเป็นผู้เล่น OTA ด้วยตัวเอง
2. รัฐบาลจะมีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นการท่องเที่ยว
3. นักท่องเที่ยวจะเดินทางเองแล้วจะใช้อุปกรณ์ดิจิตอลหรือข้อมูลทางด้านจิตดิจิตอลในการเดินทาง และมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจอย่างรวดเร็วในการเดินทาง โดยระยะเวลาในการจองตั๋วเรื่องล่วงหน้าจะน้อยกว่า 7 วันด้วยซ้ำไป
McKinsey อ้างถึงรายงานที่ทำที่เมืองจีนก่อนที่เกิดวิกฤตการณ์ COVID ซึ่งก็ทำในปี 2018
ถ้าเราดูตัวอย่างจากในเมืองจีนเราจะเริ่มเห็นว่านักท่องเที่ยวมีการปรับรูปแบบของการเดินทางนั่นก็คือการเดินทางที่เรียกว่า Semi-Self guided จะมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นส่วนการเดินทางที่เรียกว่า Self-Guided มีส่วนที่ปรับตัวลดน้อยลงเนื่องมาจากว่านักท่องเที่ยวต้องการที่จะเดินทางไกลขึ้นเพื่อสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ซึ่งอาจจะมีอุปสรรคทางด้านภาษาและวัฒนธรรมดังนั้นการท่องเที่ยวโดยใช้ไกด์นำทางจะเป็นแนวโน้มใหม่ที่เกิดขึ้น
แนวโน้มที่ชัดเจนอีกเรื่องหนึ่งก็คือนักท่องเที่ยวจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาตั้งแต่ก่อนมีวิกฤตการณ์ COVID-19 นั่นก็คือ 90% ของนักเดินทางจะได้รับอิทธิพลมาจากออนไลน์รีวิว 72% ของ Mobile Booking เกิดขึ้นภายในเวลา 48 ชั่วโมงหลังจากการทำ Google Search 40% ของนักเดินทางที่มาจากประเทศอเมริกาใช้มือถือในการจองทริปซึ่งแนวโน้มเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีวิกฤตการณ์ COVID-19 ซึ่งเราสามารถคาดเดาได้ว่านักเดินทางเองก็จะใช้หลีกทางที่น้อยลงต้องการข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุดสำหรับข้อมูลทางด้าน Health and Safety
4. นักเดินทางในกลุ่ม Business จะระมัดระวังเรื่องการจับจ่ายมากขึ้น
ส่วน Business Traveller ก็จะเริ่มเห็นแนวโน้มของผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติ COVID-19 ได้อย่างชัดเจนนั่นก็คือในเมืองจีนเองมีคนใช้ Online platform เพิ่มขึ้นอย่างมากอย่างเช่น การใช้ Online Meeting มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นกว่า 80% ส่วนบริษัทอย่าง Zoom ที่มาจากประเทศอเมริกามีราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นกว่า 50% ส่วนการเดินทางในชั้น First Class หรือ Business Class จะมีการปรับตัวที่ลดลงซึ่งแนวโน้มเหล่านี้มีมาก่อนในวิกฤตการณ์ COVID และเป็นที่คาดเดาว่าแนวโน้มนี้ยังคงต่อไปในอนาคต
5. Tradeshow ในรูปแบบเดิมจะไม่สามารถแข่งขันได้กับ Tradeshow รูปแบบ MICE (Meetings, Incentives, Conferencing, and Exhibitions)
แนวโน้มที่ปรับตัวลดลงในเรื่องของจำนวนคนที่เข้ามาใน Tradefair ซึ่งแนวโน้มนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2019 คือมีจำนวนผู้เข้าชม Tradefair ที่ลดน้อยลงไปดังนั้นธุรกิจจำเป็นที่จะต้องปรับตัว รวมไปถึงในอนาคตอันใกล้ทุกคนอาจจะระมัดระวังในการที่จะไป Tradefair ซึ่งมีจำนวนคนจำนวนมาก
ดังนั้นธุรกิจการท่องเที่ยวและสายการบินจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึง 5 คำถามสำคัญดังต่อไปนี้
1. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะฟื้นขึ้นมาเมื่อไหร่
ข้อมูลในอดีตได้บอกว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังไงก็ตามจะกลับมาในจุดเดิมแต่เวลาที่ใช้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราดูสาเหตุของการปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสาเหตุในเรื่องของ
ความไม่มั่นคงในสถานการณ์การเมืองจะใช้เวลานานที่สุดก็คือใช้เวลากว่า 25 เดือนกว่าที่จะฟื้นคืนตัวกลับมาได้
สาเหตุจากสภาพแวดล้อมและธรรมชาติหรือ investor จะใช้เวลากว่า 20 เดือนในการกลับมา
ในเรื่องของโรคระบาดเองใช้เวลาประมาณ 20 เดือน
ในเรื่องของเหตุการณ์ก่อการร้ายหรือว่าใช้เวลาประมาณ 6 เดือนกว่าที่จะกลับมา
กล่าวโดยสรุปก็คืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมักที่จะกลับมาในจุดเดิมแต่เวลาที่ใช้จะมีความแตกต่างกัน
ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งก็คือถ้าเราแบ่งการเดินทางออกเป็น 2 ประเภทก็คือการเดินทางภายในประเทศและการเดินทางภายนอกประเทศเราจะเห็นว่า การเดินทางภายในประเทศหรือว่า Domestic Tourism จะฟื้นตัวกลับมาเร็วกว่าการเดินทางนอกประเทศด้วยซ้ำไปถ้าเราดูจากข้อมูลในช่วงซึ่งเกิด Financial Crisis ในปี 2008-2009 เราจะเห็นว่าการเดินทางภายในประเทศหรือว่า Domestic Tourism จะฟื้นตัวคืนมาค่อนข้างเร็วแต่เขาจะใช้เวลา แต่ก็ยังใช้เวลา 3-4 ปีอยู่นั่นเองโดยมีรายละเอียดในแต่ละประเทศไม่เหมือนกันยกตัวอย่างเช่นประเทศอเมริกาและญี่ปุ่นกลับมาเดินทาง Outbound ได้เร็วกว่าประเทศเยอรมนีและแคนาดาแต่ในประเทศเยอรมนีเองการเดินทางภายในประเทศแทบจะไม่ได้ลดลงเลยในช่วงวิกฤตในปี 2008-2009 เพราะฉะนั้นในสถานการณ์ปัจจุบันคงเป็นสิ่งที่เร็วเกินไปที่จะคาดเดาได้ว่าประเทศไหนจะฟื้นกลับมาได้เร็วที่สุด
2. แล้วตลาดไหนจะฟื้นคืนมาเร็วกว่าตลาดอื่นตลาดไหนที่ไม่อาจจะฟื้นกลับมาได้เลย
อีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจก็คือถ้าเราดูนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยเรือสำราญมีการระบุว่ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการ Booking ภายในปี 2021 กว่า 40% แล้วนักเดินทางในเรือสำราญซึ่งโดนยกเลิกตั๋วในช่วงกลางปี 2020 กว่า 76% ขอใช้ทางเลือกที่จะเลื่อน Booking ออกไปเป็นการเดินทางในอนาคตแทนที่จะขอรับเงินคืนและกว่า 75% บอกว่ามีความตั้งใจที่จะเดินทางให้บ่อยกว่าก่อนวิกฤตการณ์โควิชหรือเดินทางให้ถี่มากขึ้นด้วยซ้ำไปมาดูนักท่องเที่ยวในประเทศอเมริกา 69% บอกว่าเริ่มนึกถึงการเดินทางแล้วมีกว่า 53% บอกว่าตั้งใจที่จะเดินทางในช่วงกลางปี 75% ของชาวอังกฤษยังมองว่ายังอยากที่จะพักร้อนเมื่อเวลามาถึงแล้วยังมีกว่า 23 % ที่บอกว่าจะเดินทางโดยทันทีเมื่อทางรัฐบาลบอกว่าปลอดภัยที่จะเดินทาง
ในช่วงการสัมมนาเองทาง McKinsey ได้สอบถามผู้เข้าร่วมสัมมนากว่า 300 ท่านให้ลองประเมินดูว่าการเดินทางจะมีการเปลี่ยนแปลงมากหรือน้อยกว่า 60% มองว่าการเดินทางจะมีการเปลี่ยนแปลงและมีแค่ 4%ที่บอกว่าการเดินทางจะเหมือนเดิม
รูปแบบการท่องเที่ยวแบบไหนจะเป็นที่นิยมในอนาคต
การปฏิบัติงานในสนามบินรวมถึงการตรวจคนเข้าเมืองจะเป็นอย่างไรแล้วจะส่งผลกระทบยังไงกับนักเดินทางในระยะสั้นระยะกลางและในระยะยาว
การเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางจะทำอย่างไร สายการบินไหนที่จะสามารถอยู่รอดได้สายการบินไหนที่จำต้องปรับตัวหรือปิดกิจการลงธุรกิจไหนจะได้รับผลกระทบธุรกิจไหนจะไม่สามารถที่จะแข่งขันต่อไปได้ในอนาคตจนต้องปิดตัวลง
Implications and Pathway to navigate the crisis
เมื่อย้อนมองดูอัตราการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในเมืองไทยจะเห็นได้ว่าเมืองไทยเองมีแนวโน้มที่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี ประเทศไทยผ่านวิกฤตการณ์มาหลายครั้งไม่ว่าจะเป็นในปี 2006 ซึ่งเกิดการปฏิวัติปี 2008 ซึ่งเกิดทางด้าน Financial Crisis หรือการปิดสนามบินของเสื้อเหลืองหรือปี 2010 ซึ่งมีการประท้วงของกลุ่มเสื้อแดงหรือปี 2011 ที่มีเรื่องน้ำท่วมปี 2014 ซึ่งจะมีเรื่องของการปฏิวัติและสภาวะหนี้ของสหภาพยุโรปจนถึงปี 2020 ซึ่งเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ COVID-19 ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวเองก็จะมีการปรับตัวสูงขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2004 ถึงปี 2020
เมื่อเราพิจารณาถึงทางออกของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเราสามารถที่จะพบทางออกได้โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลานั้นก็คือ
ขั้นตอนแรกให้จัดตั้ง Nerve Center เพื่อประเมินถึงผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาว
ถัดไปเป็นการบริหารต้นทุนการปฏิบัติการให้อยู่ในระดับที่ต่ำเพื่อที่ยังสามารถดำเนินกิจการไปได้รวมถึงการดูแลพนักงาน
มองหาช่องทางในการใช้สินทรัพย์ที่มีและเป็นโอกาสในการสร้างแหล่งรายได้เสริม
การจัดการในเรื่องการกลับมาของสภาวะปกติ
ระบุถึงกลุ่มลูกค้าที่มีแนวโน้มที่จะกลับมาก่อนยกตัวอย่างเช่น นักเดินทางภายในประเทศ น่าที่จะกลับมาก่อน
การสร้างความเป็นไปได้ในการที่จะนำนักท่องเที่ยวกลับมาในยุคหลังวิกฤตการณ์โควิชการให้ประสบการณ์ End-to-End ในเรื่องของการเดินทางท่องเที่ยว
การเตรียมพร้อมสำหรับปกติใหม่หรือ New Normal
การระบุถึงกลุ่มลูกค้าที่มีอัตราการเติบโตที่สูง
การพิจารณาถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับความปกติใหม่หรือ New Normal อย่างเช่นการตัดสินใจโดยเฉียบพลันในการเดินทาง การคำนึงถึงความปลอดภัยและสุขอนามัย การสร้างพันธมิตรระหว่างแบรนด์ที่เป็นที่ไว้ใจ
การเตรียมความพร้อมว่า คนเดินทางรุ่นใหม่มักจะใช้ Digital platform ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการใช้ Online Shopping
จัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า Nerve Center มาเพื่อดูแผนงานระยะสั้นและระยะยาวของบริษัท เพื่อบริหารจัดการเพื่อให้ผ่านวิกฤตไปได้ ทางเลือกที่บริษัทสามารถทำได้นั่นก็คือ
การจัดตั้ง Nerve Center ขึ้นมาเพื่อการตัดสินใจที่สำคัญสำคัญเพื่อสร้างความโปร่งใสให้กับผู้บริหารในองค์กร
การสร้าง Cash Lab คือเป็นการบริหารจัดการเงินสดโดยใช้ Action 3 ส่วนก็คือ 1 การประเมินสถานการณ์เงินสดณปัจจุบันรวมถึงการคาดเดากระแสเงินสดในอนาคต 2 การดูแลเรื่องการรับและจ่ายเงิน
การสร้างกระบวนการให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจรวมถึงการมองระยะยาวในเรื่องของสภาพคล่องขององค์กรโดยสร้าง scenario ที่หลากหลาย
สำหรับแนวทางที่องค์กรสามารถใช้พิจารณาในการช่วยเหลือพนักงานในช่วงเวลาวิกฤต ทาง McKInsey แนะนำว่ามีความเป็นไปได้ 4 แนวทางด้วยกันก็คือ
การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพนักงานในองค์กร
หาโปรแกรมช่วยเหลือพนักงานที่จำเป็นต้องออกจากงาน
จัดหาเงินทุนเพื่อช่วยพนักงานที่ประสบปัญหาทางด้านการเงิน
พัฒนาทักษะของพนักงานเพื่อให้สามารถทำงานประเภทอื่นได้
โดยสิ่งที่เป็นไปได้ก็คือบางครั้งองค์กร 2 องค์กรจะสามารถที่จะช่วยเหลือหรือส่งพนักงานเข้าระหว่างองค์กรได้เป็นสิ่งที่เราเรียกว่า Redeployment Platform
อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือสายการบิน Emirates ได้สร้างพันธมิตรกับสนามบินในดูไบรวมถึง Dubai Health Authority ในการตรวจผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่สนามบินโดยใช้เวลาแค่ 10 นาทีผู้โดยสาร โดยผู้โดยสารจำเป็นที่จะต้องใส่หน้ากากเมื่อมาถึงที่สนามบินรวมถึงขึ้นเครื่องบินและยังต้องปฏิบัติตามแนวทาง Social Distancing อย่างเคร่งครัดสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือสายการบินเอมิเรตส์สามารถที่จะรับประกันได้ว่าไม่มีผู้โดยสารบนเครื่องที่เป็นผู้ติดเชื้อ COVID-19
อีกตัวอย่างหนึ่งในปรเทศไทยเอง ก็คือโรงแรม Movenpick กับกลุ่มโรงพยาบาล BDMS ได้ออกโปรแกรมที่เลือกเรียกว่า Health Watch Package ซึ่งมีราคาประมาณ 50,000 บาทโดยแขกสามารถมาพักที่โรงแรม Movenpick เป็นเวลา 14 วันพร้อมทั้งได้รับการตรวจว่าติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่และยังได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางแพทย์และพยาบาลตลอดเวลาที่เข้าพักเพื่อลดความกังวลว่าจะติดเชื้อ เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการเชื่อมประสานระหว่างอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโรงแรมหรือการดูแลสุขภาพ
McKinsey ยังแนะนำว่ากระบวนการทำธุรกิจ ในการค้นหานักเดินทางในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมีผู้เล่นหลากหลายไม่ว่าจะเป็น
ขั้นตอนในการหาข้อมูลก่อนเดินทางรวมถึง
การทำ Booking การหาทัวร์โอเปอเรเตอร์
การหา Suppliers อย่างสายการบินโรงแรมรถเช่าเรือสำราญ
จนถึงการเดินทางสู่จุดหมายปลายทาง
ทั้งนี้ยังมีผู้ให้บริการดิจิตอลอีกหลายราย ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีผู้เล่นที่หลากหลายเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดน Disrupt ได้ รวมถึง New Normal ใหม่ๆเช่นประเด็นเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย
ทาง McKinsey แนะนำว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยอาจจะมีโอกาสในการที่สร้าง Platform กลางขึ้นมาเพื่อเป็นการเชื่อมระหว่างผู้เล่นต่างๆในอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น Operator อย่างเช่นสายการบิน Tour Agent โรงแรมรวมถึง Event ต่างๆเพื่อเชื่อมให้กับผู้เดินทางโดยมีการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศและการเดินทางกลับสู่ประเทศของตัวเองอีกครั้งเทคโนโลยีจะสามารถสร้างประสบการณ์เสมือนหรือ virtualization ให้กับนักท่องเที่ยวได้ซึ่งเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยควรจะพิจารณา
สรุปเนื้อหาโดย
ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ CEO ADGES & Content Director ห่วงใย Thai Business