
Executive Summary : McKinsey & Co. Session 1 - Economic Implications

หัวข้อ: COVID-19 ผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ แนวทางการรับมือและ Scenario Planning
Speaker
คุณนพมาศ ศิวะกฤษณ์กุล – Managing Partner
Marek Stepiak – Healthcare expert
Tomas Koch – Senior Partner
Dr. Tomas เริ่ม session โดยการขอบคุณบุคลากรทางแพทย์ที่เสียสละทุ่มเทในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยทุกคน หลังจากนั้น Marek ซึ่งเป็น Partner ของทาง McKinsey และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Healthcare ได้กล่าวว่าวิกฤตการณ์ COVID-19 เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ โดยในวันที่ 31 มีนาคม มีผู้ติดเชื่อทั่วโลกกว่า 857,000 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 42,000 ราย ถึงแม้ว่า COVID-19 เริ่มขึ้นจากประเทศจีนแต่ในวันนี้ประเทศจีนมีสัดส่วนของการติดเชื้อรายใหม่ย้อนหลังไปเจ็ดวันแค่ประมาณ 0.2% เท่านั้นเอง ในขณะที่ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนของผู้ติดเชื้อใหม่อยู่ถึง 31% และทวีปยุโรปมีส่วนแบ่งของผู้ติดเชื้อใหม่ที่ 52% และเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ว่าจะมีประเทศใหม่ๆที่มีสัดส่วนการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในอีกหลายประเทศในระยะเวลาอันใกล้

ทุกประเทศมีจุดเริ่มของการแพร่เชื้อในระดับที่คล้ายๆ กัน กล่าวคือเริ่มจากจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนไม่มากแต่หลังจากนั้นก็มีการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็ว ซึ่งความแตกต่างการอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการตรวจผู้ติดเชื้อว่าสามารถทำได้ด้วยความรวดเร็วและในจำนวนมากหรือไม่ การประสานและร่วมมือกันในการสืบหาต้นตอของการติดเชื้อร่วมความเป็นไปได้ของโอกาสแพร่เชื้อให้กับกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยง รวมถึงความสามารถที่จะนำเอาเรื่อง Social Distancing มาบังคับใช้อย่างจริงจัง ซึ่งปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว มีผลต่ออัตราการแพร่ระบาดของผู้ติดเชื้อภายในประเทศ โดยประเทศที่สามารถบังคับใช้ปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นได้อย่างจริงจังจะสามารถควบคุมอัตราการติดเชื้อให้อยู่ในระดับที่ต่ำ

ทำไมเราต้องมาทำความเข้าใจถึงผลกระทบของ COVID-19 เนื่องจากว่าเรื่องของการปกป้องชีวิต (Safeguard Lives) และการดำเนินชีวิต (Livelihoods) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันและแยกออกจากกันไม่ได้ โดยในการปกป้องชีวิตเราจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องต่างๆ อยู่ 3 เรื่องดังนี้
1. การควบคุมการแพร่ระบาดและการติดเชื้อ
2. เราต้องเร่งในการเพิ่มความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วยซึ่งมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
3. การชะลอจำนวนผู้ติดเชื้อ จะทำให้เรามีเวลามากขึ้นในการหาทางรักษา COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนายาหรือ vaccine
ทั้งนี้เราจำเป็นที่จะต้องมี Action ในการที่จะต้องดำเนินชีวิตกันต่อไป ซึ่งมีวิธีการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
1. การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในช่วง lockdown
2. เมื่อระยะเวลาของการ lockdown ได้ผ่านไป จำเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจกับประชาชนและภาคธุรกิจในการกลับมาทำงานทั้งนี้ก็ต้องระวังไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดขึ้นซ้ำ
3. การเตรียมตัวสำหรับการพื้นตัวของภาคธุรกิจซึ่งก็ต้องอาศัยนโยบายการกระตุ้นธุรกิจจากภาครัฐ

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
คุณนพมาศ ศิวะกฤษณ์กุล Managing Partner ของทาง McKinsey & Co. ประเทศไทยได้กล่าวไว้ว่าทาง McKinsey & Co. ได้มองผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจซึ่งจะใช้เรื่องของอัตราการเติบโตของ GDP เป็นตัวชี้วัด โดยได้มีการวางเป็น Scenario ต่างๆ โดยได้นำเสนอแนวคิดในรูปของ Matrix โดยแกน Y ได้ระบุถึงความสามารถของการควบคุมการระบาดออกเป็น 3 scenario นั้นก็คือ
1. สามารถจัดการการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว
2. สามารถจัดการการแพร่ระบาดได้ในระดับหนึ่งแต่ก็ยังมีการกลับมาของการแพร่ระดับ
3. ล้มเหลวในการจัดการการแพร่ระบาด
ส่วนในแกน X จะเป็นประสิทธิภาพของมาตรการในการแทรกแซงเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 Scenario คือ
1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ
2. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพในบางส่วน
3. มาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
ดังนั้นจำนวน Scenario ที่เราสามารถสร้างได้จะมีอยู่ 9 Scenario ด้วยกัน อย่างเช่น Scenario A4 จะเป็น Best case scenario หรือ Optimistic Scenario หรือสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพและเห็นผลโดยเร็ว ส่วน B3 จะเป็น Worst Case Scenario นั้นก็คือ ล้มเหลวทั้งในเรื่องของการควบคุมการแพร่ระบาดรวมถึงมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจเองก็ไม่ได้ผล

ทาง McKinsey & Co. มองว่า Most Likely Scenario น่าจะเป็น A1 A2 A3 และ A4 แต่ก็ยังไม่สามารถดึงเอา Scenario B1 B2 B3 B4 และ B5 ออกไปได้เนื่องจากเหตุการณ์ปัจจุบันมีความผันผวนมาก แต่ถ้าเราลองมองเจาะไปที่ Scenario A1 และ A3 ซึ่งน่าจะมีโอกาสในการเกิดขึ้นค่อนข้างสูง Scenario A3 คือเราสามารถควบคุมการแพร่ระดับได้เร็วและภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง Scenario นี้ได้คาดการว่าจะมีการเติบโตของ GDP ทั่วโลกอยู่ที -1.8% และจะใช้เวลาถึง Q1 ของปี 2021 ในการที่จะให้การเติบโตของ GDP กลับมาอยู่ในระดับเดียวกันกับอัตราการเติบโตของ GDP ก่อนการวิกฤต COVID-19 โดยประเทศที่เป็นเครื่องจักรหลักในการขับเคลื่อนคือประเทศจีนซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะมีการปรับลดของ GDP แค่ -0.5% และจะใช้เวลาแค่ถึง Q4 2020 ในการพื้นตัวของเศรษฐกิจให้กลับมาอยู่ในระดับก่อนวิกฤต COVID-19
แต่เมื่อเราดูถึง Scenario A1 ซึ่งประกอบไปด้วยสมมุติฐานหลักสองตัวคือ การควบคุมการแพร่ระบาดทำได้ในระดับหนึ่งนั้น ยังมีโอกาสในการแพร่ระบาดซ้ำ รวมถึงมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจก็มีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง ผลลัพธ์จาก Scenario นี้ก็คือ อัตราการเติบโตของ GDP ทั้งโลกจะติดลบอยู่ที่ -5.7% และต้องใช้เวลาถึง Q4 2022 หรือไม่น้อยกว่าสองปีครึ่งจนกว่าที่เศรษฐกิจจะกลับคืนมาสู่ระดับเดียวกันกับก่อนเกิดวิกฤตการณ์ COVID19 ทั้งสอง Scenario ต่างชี้ตรงกันว่า เศรษฐกิจของประเทศจีนจะมีการหดตัวน้อยกว่าประเทศอย่าง อเมริกาหรือทางยุโรปอีก อีกทั้งประเทศจีนก็ยังใช้เวลาสั้นที่สุดในการพื้นขนาดเศรษฐกิจให้กลับมาในระดับเดียวกันกับก่อนการเกิดวิกฤตการณ์ ประเทศอเมริกาเองมีการเติบโตของ GDP ติดลบอย่างรุนแรงจนเทียบเท่าได้กับอัตราการหดตัวของ GDP หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เลยที่เดียว ซึ่งคงเป็นสภาพเศรษฐกิจหดตัวมากอย่างที่เราไม่เคยคาดคิดและไม่คิดว่าจะรุนแรงขนาดนี้
สำหรับในแต่ละภาคอุตสาหกรรม ถ้าเรามองที่ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นหรือ Shareholder Return ในแต่ละ Sector โดยรวมทุก Sector จะมี Shareholder Return ที่เป็นลบ แต่จะลบมากหรือลบน้อยจะเริ่มมีความแตกต่างกันในแต่ละ Sector จะเห็นได้ว่า Sector ที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดคือ Sector ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตตัวอย่างเช่น Retail, High-Tech, หรือ Phama แต่ Sector ที่มีผลกระทบติดลบสูงสุดเป็นอันดับต้นๆ ก็ได้แก่ Air & Travel ส่วน Oil & Gas ได้รับผลกระทบทั้ง COVID-19 และราคาน้ำมันที่ตกต่ำลงในเวลาเดียวกัน แต่เมื่อเอาบริษัทขนาดใหญ่ 3,000 บริษัทของโลกมากระจายลงตาม Sector จะเห็นว่าจะมีความแตกต่างของ Shareholder Return ภายใน Sector ค่อนข้างมากเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นธุรกิจ Retail เองก็มีทั้งบริษัทที่ยังมี Shareholder Return ที่เป็นบวก เป็นศูนย์หรือกระทั้งติดลบนั้นเอง เนื่องจากมีปัจจัยทางด้านธุรกิจที่แตกต่างกันหรือเป็นการสะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันและปรับตัวต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น

คำถามก็คือเราสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ครั้งหนึ่งในชีวิตน่าจะเกิดขึ้นได้แค่ครั้งเดียว ซึ่งมีความคาดเดายาก และมีความผันผวนที่สูงโดยองค์กรจำเป็นที่จะต้องพิจารณาใน 5 เรื่อง หรือ (5R)
1. Resolve เป็นสิ่งที่องค์กรส่วนใหญ่ทำในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องและดูแลสวัสดิภาพของพนักงาน รวมไปจนถึงการดูแลลูกค้า
2. Resilience พอมีการ shut-down แล้วเราจะทำอย่างไรให้ธุรกิจยังพอไปได้ โดยสรุปเป็นแนวทางที่พอทำได้ ตัวอย่างเช่น
Fast but painful คือการขาย stock ในราคาที่ต่ำมากๆ เพื่อเอาเงินสดเข้ามาก่อน
Immediate Cash Opportunities เช่นตามเก็บหนี้จากลูกค้า หรือการต่อรอง term ในการจ่ายเงิน หรือสุดท้ายคือการทำ
Structural Change เช่นการลดต้นทุนในการผลิตหรือการบริหารจัดการ Stock เพื่อลดต้นทุน
3. Return คือการนำเอาธุรกิจกลับมาสู่ Scale ปกติหรือสามารถ Restart ธุรกิจของเราได้
4. Reimagination คือความเข้าใจว่าทั้งภาคธุรกิจเองรวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคบางอย่างจะไม่สามารถกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในเรื่อง Remote หรือ Tele โดยใช้ Technology เป็นตัวช่วยและเป็นตัวเร่งในการสร้างอุตสาหกรรมในรูปแบบใหม่ ตัวอย่างจากประเทศจีนและเกาหลีทำให้เราเห็นว่าการใช้ E-Commerce ภายหลังจากวิกฤตผ่านไปก็ยังมีการใช้อยู่ในระดับที่สูง นักเรียนเองก็เรียนแบบ E-learning และ Online หลังจากนี้จะเป็น New Norm ซึ่งจะทำให้องค์กรหันมามองย้อนดูว่าเราต้องทำอะไรให้เกิดขึ้นในหน่วยงานธุรกิจของเรา
5. Reform เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทางองค์กรธุรกิจและทางภาครัฐจำเป็นที่ต้องถามตัวเองว่าเราจะต้องเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดและอย่างไร

แต่สิ่งสำคัญที่สุดและถือว่าเป็น Key Takeaway เลยก็คือ เรื่องของการจัดการ Nerve Center หรืออาจจะหมายถึง War Room คือองค์กรจำเป็นต้องมีทีมเฉพาะเพื่อมาดูแล 5R อย่างจริงจัง ถ้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่อาจจะจำเป็นที่จะต้องมีทีมมาดูในแต่ละเรื่องที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
Scenario Planning, Strategic Moves
Workforce Protection and Productivity
Supply Chain Management
Customer Transparency and Supports
Cash and Financial Stabilization

โดยสรุปวิกฤตการณ์ COVID-19 จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับสูงอย่างที่เราไม่เคยมีประสบการณ์ในการรับมือมาก่อน แต่เราเชื่อว่าเราจะผ่านไปได้ด้วยกัน
ส่วนในช่วงของ Q&A มีคำถามว่า
Q: เราจะทราบได้อย่างไรว่าวิกฤตการณ์ได้ผ่านไปแล้ว
A: ถ้าเรามองอย่างประเทศจีน เครื่องบ่งชี้จะเป็นอัตราการเพิ่มของผู้ติดเชื้อรายใหม่ๆ ที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่าสองอาทิตย์ ซึ่งก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าจุดสูงสุดของการระบาดได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามการระบาดในระดับ Pandemic จำเป็นที่ต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในระดับรอบที่สองหรือ Second Wave
Q: อะไรคือผลกระทบต่อ GDP ของประเทศไทย
A: McKinsey ยังไม่ได้ทำตัวเลข Scenario Analysis ของประเทศไทย แต่ถ้าเราสังเกตจากการหดตัวของ GDP ทั่วโลกแล้ว การถดถอยของอัตราการเติบโตของ GDP ในประเทศไทยอาจจะรุนแรงกว่า เนื่องด้วยสาเหตุสามประการคือ 1. ภาคการท่องเที่ยวของเมืองไทยมีสัดส่วนต่อ GDP เกือบ 30% ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็น Driver ที่สำคัญมาก 2. ประเทศไทยพึ่งการส่งออกค่อนข้างมาก และสุดท้าย 3. ธุรกิจไทยประกอบไปด้วยธุรกิจขนาดเล็กและ SME เป็นสัดส่วนที่สูง ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์นี้ค่อนข้างมาก โดยสรุปสถานการณ์ของเมืองไทยน่าจะรุนแรงกว่าค่าเฉลี่ย GDP ของทั่วโลก ซึ่งอาจจะใช้เวลานานในการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจ
Q: แล้วเรากำลังจะมี Recession ไหม
A: คำจำกัดความของ Recession คืออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบสองไตรมาสติดต่อกัน แต่จากการคาดการณ์ไม่ว่าจะเป็นใน Scenario ไหนก็คงจะเกิด Recession อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นในแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อนด้วย
Q: อะไรเป็นบทเรียนที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากประเทศมีประสบความสำเร็จในการจัดการโรคระบาดในครั้งนี้
A: ตัวอย่างจากสิงค์โปร์ ทำให้เราเห็นว่าการสืบเสาะและตรวจสอบว่าใครคือผู้ติดเชื้อและผู้ติดเชื้อสามารถเผยแพร่เชื้อไวรัสให้กับใครและที่ไหนในระยะเวลาย้อนหลังไป 14 วัน เป็นวิธีที่สามารถกักกันผู้ป่วยไม่ให้ไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้อีก ในประเทศเกาหลีใต้เองก็ประสบความสำเร็จในการตรวจสอบหาผู้ติดเชื้อที่สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งทำให้ประเทศเกาหลีใต้เองสามารถที่จะลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้อย่างรวดเร็วจนดูเหมือนว่าสามารถควบคุมได้ในที่สุด ในประเทศจีนเองก็เร่งในการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแพทย์ โดยการนำเอาบุคลากรทางการแพทย์จากทั่วประเทศมาระดมกำลังในการดูแลรักษา รวมถึงความสามารถในการสร้างโรงพยาบาลเฉพาะกิจได้ในระยะเวลาอันสั้น ในประเทศออสเตรเลียเองก็ขอแรงจากบุคลากรทางแพทย์ที่เกษียณแล้วมาช่วยดูแลผู้ติดเชื้อในสถาวะวิกฤตอย่างในปัจจุบัน
Q: อะไรเป็นสัญญานของการฟื้นตัวที่แม่นยำที่ภาคธุรกิจสามารถนำไปใช้ได้
A: Malik กล่าวว่า คงยากที่จะหาตัวชี้วัดที่เที่ยงตรงสำหรับการบ่งบอกถึงเรื่องที่ว่าวิกฤต COVID-19 ได้ผ่านไปแล้ว เนื่องจากว่าสิ่งสำคัญของ Pandemic ก็คือความเข้าใจในเรื่องโรคติดต่อ รวมถึงวินัยของตัวบุคคลและกลุ่มคนมีผลกระทบต่ออัตราการติดเชื้อ ตัวอย่างในประเทศจีนเอง การติดเชื้อในแต่ละส่วนของประเทศก็ยังมีอัตราการติดเชื้อที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นคงเป็นสิ่งที่ลำบากที่จะบ่งชี้กลับมายังภาคธุรกิจให้แม่นยำ อย่างที่สองก็คือ ถ้าดูจากประวัติศาสตร์ของ Pandemic จะพบว่าจะมีการเริ่มและจะมีการสิ้นสุด เราได้แต่หวังว่าเราจะมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยหรือมีการรักษา แต่ในความเป็นจริงอาจจะใช้เวลานานในการนำมารักษาได้จริงๆ และนำมาใช้ได้ทั่วทั้งโลก แต่ที่สำคัญก็คือการที่ COVID-19 จะไม่กลับมาเป็น Pandemic อีกก็ต่อเมื่อเราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบวัคซีนที่สามารถทำให้ทุกคนรู้สึกอุ่นใจที่จะกลับไปใช้ชีวิตเหมือนเก่าได้อีก แม้กับประเทศที่ดูเหมือนจะจัดการ COVID-19 ได้แล้วอย่างประเทศจีนหรือประเทศสิงค์โปร์เองก็ตาม ก็ยังกังวลว่าจะมีการกลับมาแพร่ระบาดซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
Q: จะมี New Normal ไหมและอุตสาหกรรมไหนที่จะได้ประโยชน์
A: เราคงไม่สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมได้อีก และเราเองก็ยังไม่ทราบเลยว่าจะกลับมาใช้ชีวิตโดยไม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยได้อีกเมื่อไร แต่สิ่งที่เรารู้คือรูปแบบการใช้ชีวิตของเราได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่การเกิดโรคระบาด COVID-19 ตัวอย่างเช่น เราอาจจะรู้สึกลังเลที่จะไปโรงพยาบาลเพื่อจะไปทำการรักษาเล็กๆ น้อยๆ เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัยจากการติดเชื้อ แต่คนอาจจะปรึกษาแพทย์ทาง Online แทน ตอนนี้ทุกคนให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนและอยากที่มีสุขภาพดีในช่วงของการระบาดของ COVID-19 และเรายอมที่จะใช้เงินในการดูแลสุขภาพของเราให้ดี ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออาหารเสริม การเล่นกีฬา หรือมาเป็นการภาวนาทำสมาธิเป็นต้น หรือไม่ก็เป็นรูปแบบใหม่ในการทำงานแบบ Work From Home ซึ่งพนักงานสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่และยังสามารถทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ใน Office ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ยากที่จะคาดหวังว่าทุกคนคงอยากกลับไปทำงานที่ Office เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็น Online Experience ที่เราสามารถได้สิ่งที่เราต้องการในเวลาที่เราต้องการ สิ่งเหล่านี้มีผลอย่างมากต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของเราในอนาคต
คุณนพมาศยังได้เสริมอีกว่า แน่นอนที่สุดเราคงคิดว่าแนวคิดอย่าง Remote, Telemedicine, Work From Home หรือแม้แต่เรื่อง Online Learning เป็นแนวคิดที่ดี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตัวเร่งที่ทำให้เราต้องยอมรับในแนวคิดใหม่ๆเหล่านี้ให้เร็วขึ้น ถัดไปเป็นเรื่องของสุขภาพ ซึ่งเราคงสามารถคาดเดากันได้ว่าธุรกิจไหนจะสามารถได้ประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้น จะมีกลุ่มบริษัทที่ทำอยู่แล้วและได้ประโยชน์โดยตรง ตัวอย่างเช่น ZOOM หรืออีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อสร้างโอกาสให้กับตัวเองว่าจะปรับตัวอย่างไรเพื่อไปสู้กับองค์กรที่มีความแข็งแกร่งอยู่แล้ว อย่างไรก็น่าจะมี New Normal แน่ๆ
Q: จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเรามี 2nd Wave ของโรคระบาดทั่วโลก
A: เราได้แต่หวังว่าเราสามารถที่จะลดจำนวนการติดเชื้อและสามารถติดตามผู้ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว เราสามารถเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในการรับมือกับการระบาดในครั้งแรก อย่างในเมืองจีนเองก็มีการใช้เทคโนโลยีในการตรวจตราและติดตามบุคคลในกรณีที่เกิดการติดเชื้อ ประเทศที่มีประสบการณ์มาก่อนอย่างประเทศจีนหรือสิงค์โปร์เองรู้แล้วว่า การรับมือกับโรคระบาดจำเป็นที่จะต้องตรวจหาผู้ติดเชื้อให้ได้เร็ว รวมถึงความสามารถในการกักกันผู้ติดเชื้อเพื่อไม่ให้มีโอกาสในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น รวมถึงการกักกันตัวเองเป็นเวลา 14 วันเป็นต้น อย่างไรก็ตาม เราทราบดีว่า Pandemic มักจะมี Second Wave ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้เรียนรู้แล้วว่าการรับมือของประเทศที่พบผู้ติดเชื้อเป็นประเทศแรกๆ มีผลต่อการแพร่ระบาดในประเทศอื่นๆ ถึงตอนนี้ก็มีการพูดคุยกันแล้วว่าเราจะรับมืออย่างไรสำหรับ Second Wave ที่อาจจะเกิด ถ้าเรายังไม่สามารถหาวิธีรักษาหรือหาวัคซีนได้ โรคระบาดจะถึงจุดสูงสุดแล้วก็จะกลายเป็นการระบาดในวงที่เล็กลงและสามารถที่จะจัดการได้ไม่ยากมากหรือไม่ก็จะสามารถกลับมาแพร่ระบาดได้เป็นฤดูกาลจนกว่าเราจะสามารถหาวิธีรักษาได้
Q: สำหรับ The Worst Case Scenario อย่าง B3 จะใช้เวลาเท่าไร จนกว่าจะกลับมาสู่สภาวะปกติ
A: ขนาด A1 เรายังมองไปถึงปี 2024 กว่าสี่ปีกว่าที่เราจะกลับมาสู่สภาวะเศรษฐกิจเดิมที่เราเคยเป็น ดังนั้นคงเป็น Recession ที่ยาวและไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี
สุดท้ายทาง ห่วงใย Thai Business ขอขอบคุณทาง McKinsey & Co. ที่ได้สละเวลาและมาร่วมแบ่งปันความรู้และมุมมอง
สรุปเนื้อหาโดย
ดร. ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ
เอกสารและภาพประกอบมาจาก COVID-19 Briefing Materials จาก McKinsey & Co. update Mar 25, 2020
สามารถ download ได้ที่ DOWNLOAD