top of page

ตลาดเงินและตลาดทุนไทย - คุณบรรยง พงษ์พานิช


Exclusive Talk

วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม 2563 เวลา 14.00-15.00 น.

หัวข้อ  "ตลาดเงินและตลาดทุนไทย" EP. 1

แขกรับเชิญพิเศษ-คุณบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน)

ผู้ดำเนินรายการ-คุณสุวภา เจริญยิ่ง อุปนายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย


ถือเป็นบุคลากรที่คร่ำหวอดของวงการตลาดทุนไทยคนหนึ่งสำหรับ คุณบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ที่วันนี้จะมา Exclusive Talk ถึงเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านของตลาดเงินและตลาดทุนไทยจวบจนปัจจุบัน รวมถึงแนวทางและแนวคิดที่น่าสนใจตลอดการทำงานในตลาดทุนของคุณบรรยงรวมทั้งหมด 42 ปี


ความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุนคืออะไร ที่มีความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจไทยปัจจุบัน


โลกปัจจุบันถือว่าตลาดทุนเป็นหนึ่งหัวใจของระบบเศรษฐกิจของโลก แต่ต้องถามกลับไป แล้วคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับตลาดทุนไม่เคยตั้งคำถามว่าตลาดทุนมีไว้ทำไม และทำไมถึงมีความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน


เพราะโลกทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าขับเคลื่อนสร้างผลผลิตแข่งขันได้ ดังนั้นระบบพวกนี้ล้มเลิกกันไปเอง โดยที่เราไม่ต้องมีสงคราม การยุติสงครามเย็นคือสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะประเทศที่เคยใช้ระบบรวมศูนย์หรือสังคมนิยมเขารู้ดี ตั้งแต่ปี 1979 เติ้งเสี่ยวผิงเปลี่ยนประเทศจีน ปี 1989 กำแพงเมืองเบอร์ลินล่มสลายไป ปี 1991 สหภาพโซเวียตล่มสลายออกเป็น 12 ประเทศ ซึ่งทั้ง 12 ประเทศก็เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์หรือสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่ชื่อบอกแล้วว่าใช้ตลาดเป็นตัวนำ

หน้าที่ที่สำคัญสุดของตลาดทุนคือ การรวบรวม จัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation) จริงๆ ตลาดการเงินคือการรวมตลาดของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดไว้ และมีหน้าที่อยู่ 3 หน้าที่คือ


1.เกิดการชำระราคา (Payment) การเทรดหรือการซื้อขายแลกเปลี่ยนจึงเกิดขึ้น และถ้าไม่มีเพย์เมนท์ส่วนนี้อย่างผมกับคุณจิ๋มก็ต้องทำหมดทุกหน้าที่คือ ปลูกข้าว ทอผ้า หาปลา ซึ่งเราทำไม่เป็น การมีการซื้อขายขึ้นมาทำให้เรากระโดดขึ้นมากว่าสิ่งมีชีวิตชาติพันธุ์อื่น ระบบทุนนิยมจะบอกว่า การจัดสรรทรัพยากรว่าใครควรจะทำอะไร ใครควรได้อะไรไป สร้างผลผลิตขึ้นมา จะแบ่งปันผลผลิตหรือจะได้ประโยชน์จากผลผลิตจากการใช้กลไกตลาด จากคุณอัมสมิธ เมื่อ 1776 แล้วก็ใช้ตลาดทุนเป็นหัวใจส่วนหนึ่ง


2.Resource Allocation รวบรวม จัดสรรทรัพยากร 


3.ช่วยจัดการความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่ให้ระบบเศรษฐกิจผันผวนเกินไป ให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้ราบเรียบ


คนส่วนใหญ่มองว่าตลาดเงินคือเม็ดเงินน้อยกว่า 1 ปี ตลาดทุนคือเม็ดเงินมากกว่า 1 ปี


อันนี้เป็นทฤษฎีโบราณไว้สอนเด็กแล้ว เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้วเพราะโลกทั้งโลกมันมีความซับซ้อนขึ้นและแบ่งได้หลายมิติ แต่สำหรับผมที่ทำธุรกิจมาเพื่อความเข้าใจ จะแบ่งตลาดการเงินเป็น 2 ลักษณะตามลักษณะตัวกลาง คือ


(1) ตัวกลางทางอ้อม เพราะเจ้าของเงินไม่รู้ว่าเงินไปไหน คนที่ใช้เงินก็ไม่รู้ว่าเงินมาจากไหน นั่นคือระบบของธนาคาพาณิชย์ โดยที่ธนาคารมาอยู่ตรงกลางที่รับทั้งความเสี่ยงและรับทั้งกำไรไปด้วย


(2) ตัวกลางทางตรง คือตราสารหนี้ หรือตราสารทุนที่เอาเงินไป หรือผู้ลงทุนรู้ว่าฉันเอาเงินไปให้ใคร หรือเอาเงินมาจากใคร ผู้เอาเงินก็จะได้หรือเสียไปจากการที่เอาเงินไป โดยไม่มีสถาบันการเงินอยู่ตรงกลาง เพราะสถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นเพียงนำคนสองคนมาเจอกันใหhมีตลาดรอง แต่เขาจะไม่เอาตัวเองไปยุ่งเกี่ยวกับความเสี่ยง การได้หรือการเสี่ยง หรือคนส่วนใหญ่จะมองว่านี่คือตลาดทุน เพราะจะเห็นว่าธนาคารพาณิชย์ก็ประกอบธุรกิจในตลาดทุนด้วย ซึ่งเมื่อก่อนหลายประเทศมีกฎห้าม แต่เดี๋ยวนี้ทำได้หมดแล้ว โดยเรียกว่า Universal Banking


ตลาดทุนที่ดีควรจะเป็นอย่างไร


1.สามารถรวบรวมทรัพยากรได้พอเพียงกับความต้องการที่จะพัฒนาประเทศและทรัพยากรต้องมาจากแหล่งที่ถูกต้องด้วย เพราะอย่างประเทศกำลังพัฒนาจะมีทรัพยากรไม่พอ ก็ต้องการทรัพยากรที่นอกจากของตัวเองก็จะเอาจากของคนอื่นด้วย การที่เน้นว่าต้องถูกต้องด้วย เพราะตอนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เกิดจากการที่รวบรวมทรัพยากรไว้มากมายคือ มีเงินกู้ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่ดันเป็นเงินกู้ระยะสั้นในสกุลเงินต่างประเทศที่เอาไปลงทุนในกิจการระยะยาวและยังไม่ส่งผลอะไรมาก พอเขาจะเอาเงินคืนก็พัง จนเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตการเงินขึ้น


2.ต้นทุนของทรัพยากรต้องแข่งขันได้ เพราะโลกปัจจุบันกิจการทางเศรษฐกิจมักจะเป็นแบบ Capital Intensive ถ้าต้นทุนทางการเงินเราสูงกว่าประเทศอื่นๆ เราก็จะแข่งกับใครไม่ได้ ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ต้นทุนของผู้ที่ลงทุนต้องการ (Required Rate of Return) และสองคือ ต้นทุนของตัวกลางของการลงทุน และพบว่าต้นทุนของทั้ง 2 แห่งจะไม่เหมือนกัน แต่ละประเทศก็จะมีต้นทุนที่ต่างกัน ไทยถือว่ามีต้นทุนทางการเงินที่สูง เพราะสิ่งที่ทำงานมาตลอดคือการที่เราสร้างต้นทุนให้กับระบบเศรษฐกิจมาโดยตลอด และมีส่วนไม่น้อยที่ทำให้ประเทศไทยติดกับดัก แต่คนที่อยู่ในแวดวงการเงินจะไม่ค่อยยอมรับสิ่งที่ผมได้สันนิษฐาน แต่นี่คือต้นทุนของเศรษฐกิจที่ต้องจ่าย


ต้นทุนทางการเงินของประเทศไทยประมาณ 7-8 % ต่อปีของประเทศไทย หากเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วอยู่ที่ 2.5-3 % โดยมีสาเหตุหลายอย่าง ตั้งแต่การไม่มีระบบที่ดี ความไม่มีประสิทธิภาพของระบบตัวกลางทางการเงิน การแข่งขันที่ไม่เพียงพอ รวมไปถึงกฎระเบียบ หรือบางครั้งที่ผู้คุมกฎก็เผลอเอาต้นทุนมาใส่ให้ตัวกลาง ซึ่งอาจจะมุ่งเน้นความเสถียรภาพ แต่ยกต้นทุนมาให้กับสถาบันการเงินที่ถึงอย่างไรเขาก็จะไม่แบกไว้ แต่จะส่งผ่านไปให้ตลาด รวมถึงกฎหมายที่มีประสิทธิภาพต่ำ ที่ทำให้ต้นทุนบางประเภท เช่น  การจัดสรรทรัพยากรใหม่สูงมาก การที่ให้กู้ไปแล้วจะมายึดทรัพย์กว่าจะได้เงินมีความเสียหายมากกว่า ซึ่งไม่ได้โทษใคร แต่ต้องเข้าใจว่าสิ่งที่ทำให้เราด้อยพัฒนามันอยู่ตรงไหน


3.จัดสรรได้ดีและทั่วถึง นี่คือสิ่งสำคัญที่สุด

-การจัดสรรได้ดี คือ การเอาทรัพยากรไปให้คนที่ควรได้ คนที่มีศักยภาพจริง และคนที่มีหลักธรรมมาภิบาล (CG) คนที่ไม่คดโกง ไม่ฉ้อฉล ที่สามารถเอาทรัพยากรนั้นไปสร้างประโยชน์ได้มากที่สุด เพื่อที่จะได้เอาผลตอบแทนมาแบ่งกัน ระหว่างเจ้าของทรัพยากรและตัวเขาเอง ซึ่งต้องมีกลไกที่สำคัญมาก เช่น การวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ทำให้นักลงทุนรู้ว่าหลักทรัพย์หรือหุ้นตัวไหนดีไม่ดี การให้สินเชื่อก็ต้องมีการวิเคราะห์สินเชื่อ การอำนวยสินเชื่อ


-คำว่าทั่วถึง ไม่ได้แปลว่าคนตัวเล็กก็ต้องได้ แต่เป็นสิ่งที่ควรจะได้ คนไทยไปติดคำว่าตลาดทุนคือตลาดหลักทรัพย์ ตลาดทุนคือ การจัดสรรทรัพยากรทางการเงินซึ่งกว้างไกลกว่าตลาดหลักทรัพย์มากนัก อย่างการรับจำนำก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของตลาดการเงิน เพราะมันมีทั้งในระบบและนอกระบบ เราต้องมองว่าบริษัทขนาดไหน คุณภาพอย่างไร ในขั้นตอนของการพัฒนาการของเขาอย่างไร ควรจะไปกลไกตัวกลางประเภทไหน ซึ่งคนไทยขาดตัวกลางประเภทที่ดูแล SME แต่ไม่ใช่พอขาดก็มาบังคับให้ตลาดหลักทรัพย์สร้างตลาด SME ซึ่งมันไม่มีศักยภาพอที่จะดึงดูดเงินลงทุนคุณภาพ


4.ติดตามทรัพยากรได้ดี จัดสรรไปแล้วก็ต้องติดตามดูว่าทรัพยากรที่เอาไปแล้วใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ตามที่แจ้งไว้ มีกระบวนการควบคุมดูแลที่ดีพอหรือไม่ นี่คือหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) นั่นเอง เพราะเจตนาของ Governance เป็นเครื่องมือสำคัญของเจ้าของทรัพยากรที่จะใช้ติดตามดูแลทรัพยากรของเขามีการกำกับดูแลกิจการที่ดี Governance ไม่ใช่แค่เรื่องคุณธรรมหรือจริยธรรม ซึ่งเมืองไทยแปลความหมายผิดไปเยอะ แต่ไม่ได้แปลว่าไม่ต้องมีคุณธรรมหรือจริยธรรม เพราะมันไม่พอเพราะต้องสร้างผลผลิตได้ดี


คำว่า Good Governance เราแปลกันว่าธรรมมาภิบาล Governance จริงๆ แปลว่า กลไกที่ช่วยกำกับให้การดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ในแง่บริษัทคือ Corporate  ในแง่ประเทศคือ Governance ทั่วไป ในความหมายของภาษาแปลว่า Governance ที่มันเวิร์ก ทำงานดี เช่น Good telephone ไม่ได้แปลว่าโทรศัพท์มีคุณธรรม แต่แปลว่าโทรศัพท์ทำงานดี ฟังก์ชั่นเวิร์ก แต่คนไทยไปใส่คำว่า “ธรรม” เลยทำให้ความหมายไขว้เขว่เพราะคนไปคิดเรื่องการมีคุณธรรมเป็นหลัก ความหมายคุณธรรมมีอยู่ แต่เป็นเพียงแค่องค์ประกอบส่วนเดียวเท่านั้น ที่สำคัญกว่า คือประสิทธิภาพ ประสิทธิผล


“แกนหลักของ Good Governance คือ กลไกที่ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ซึ่งมีความหมายที่มากกว่าเป็นเพียงแค่ผู้ถือหุ้น โดยต้องทำให้ Stakeholders สามารถมีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถติดตามดูแลได้ ซึ่งตลาดทุนกับประชาธิปไตยมีส่วนคล้ายกันตรงที่ Stakeholders ต้องมีเสียง มีน้ำหนัก และมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการ”


คนชอบพูดว่าให้แยกแยะผลประโยชน์ส่วนรวมออกจากผลประโยชน์ส่วนตน และเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวมก่อนเห็นประโยชน์ส่วนตน ฟังดูแล้วเพราะ แต่ทำยาก และยอมรับเลยว่าผมไม่เคยทำได้ ผมไม่ได้เลว แต่ผมเปลี่ยน เปลี่ยนจาก “แยะแยะ” เป็น “หลอมรวม” นี่คือการเปลี่ยนทุนนิยมที่ถูกต้อง


คือสร้างระบบขึ้นมาให้ผลประโยชน์ของสมาชิกในระบบ สอดคล้องกับผลประโยชน์ส่วนรวม คือหลอมรวมผลประโยชน์ของเรากับของส่วนรวมเข้าด้วยกัน แล้วอย่างนี้ไม่ต้องเอาอะไรมาก่อน เพราะมันอันเดียวกัน นี่คือปรัชญาในการทำธุรกิจตลอดมา ประโยชน์ของเรากับประโยชน์ส่วนรวมมันไปด้วยกัน แม้ไม่ได้จิตสาธารณะ แต่ทำอย่างนั้นทำให้ผมสร้างกำไรได้อย่างยั่งยืน


อย่างการต่อต้านคอรัปชั่นศึกษามา 10 ปี ผลที่ได้คือระบบที่ได้ผลไม่ใช่ระบบที่ชูคุณธรรม แต่เป็นระบบที่ต้องดึงระบบ Self Interest ของคนในสังคมให้ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องพวกนี้ให้ได้ หรือให้เขารู้ว่าที่เขาโกง แต่เราต้องลุกขึ้นมาปกป้องผลประโยชน์ เรื่องการชูคุณธรรมพูดเพราะ พูดง่ายของบประมาณง่าย

ตอนเจอโควิด-19 ทำโพลเล็กๆ ของตัวเอง ถามว่า “ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมากหยุดการแพร่ระบาดและการจัดการโควิดฯ อันดับต้นของโลก ใช่รัฐบาลเป็นคนมูฟ แต่ประชาชนเป็นคนร่วมมือเพราะประชาชนต้องการ โดยให้เลือก 2 ข้อคือ 1)หยุดเชื้อเพื่อชาติ 2)หยุดเชื่อเพื่อกู คำตอบข้อ 2 เป็นส่วนใหญ่ มันสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการใดที่ได้ผลต้องลิงก์เข้าสู่ประโยชน์คน เมื่อประโยชน์ส่วนตนสอดคล้องต่อประโยชน์ส่วนรวม ก็จะประสบความสำเร็จ


5.ต้องสามารถมีกระบวนการ Reallocation เพราะหลังมีการจัดสรรทรัพยากรไปแล้ว เหมือนเวลาที่ซื้อหุ้นผิดมันผิดได้ ต่อให้ไม่โกงก็พลาดได้ ก็ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรที่เอาทรัพยากรนั้นคืนมาเพื่อไม่ให้เสียหายแล้วเอาทรัพยากรไปใช้อย่างอื่น ในตลาดทุนถึงต้องมีสภาพคล่องเพื่อรู้ว่าผิดก็จะขาย ในตลาดการเงินหรือสินเชื่อในไทยมีปัญหาทำให้เราเสียหายมากจากวิกฤตต้มยำกุ้งที่เรามีการ Reallocation ที่ไม่ดี กฎหมายล้มละลาย กฎหมายบังคับทรัพย์ที่ช้า ไม่มีประสิทธิภาพ มันบิดเบี้ยว และทำให้ทรัพยากรมันเสียหาย 1.4 ล้านที่กองอยู่ที่กองทุนฟื้นฟูมาจากสาเหตุนี้ไม่น้อย ถ้าเป็นกลไกที่ดีเหมือนบางประเทศเราจะเสียหายน้อยกว่านี้ เราต้องปรับปรุง


องค์ประกอบของตลาดทุนมีอยู่ 5 องค์ประกอบ


1.นักลงทุน สำคัญที่สุดเพราะเขาคือเจ้าของทรัพยากรหรือเจ้าของเงินที่มาลงทุน


2.บริษัทที่ออกตราสาร (Issuer) หรือคนที่เอาเงินไป สำคัญเพราะเขาเป็นคนเอาทรัพยากรไปสร้างผลผลิต


3.ตัวกลาง ตั้งแต่ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ธนาคาร บริษัทประกัน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)


4.Facilitator คนที่จัดให้มีตลาด คือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รวมไปถึงสถานที่ให้มีระบบการซื้อขาย มีระบบชำระราคา รับฝากหลักทรัพย์ ระบบเคลียร์ริ่ง และเครดิตเรตติ้งเอเจนซี่ เครดิตบูโรที่ให้ข้อมูลข่าวสาร


5.Regulators and Policy makers คือ คนคุมกฎและคนที่กำหนดนโยบาย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รัฐบาล


ตลาดทุนที่ดีควรมีองค์ประกอบการ 5 กลุ่ม


อาจมีความหลากหลายที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ทำงานนี่มา 42 ปี


-นักลงทุนที่มีคุณภาพ ไม่ใช่มีเงินอย่างเดียว แต่ต้องมีเงินคุณภาพ (Quality Money) รู้ว่าฉันจะให้ใครไม่ให้ใคร เจ้าของเงินต้องมีความรู้ระดับหนึ่ง จึงเป็นเหตุผลที่ตลาดที่พัฒนาแล้วถึงเน้นไปที่นักลงทุนสถาบันกับนักลงทุนที่เข้าใจ เด็กจบใหม่ที่ไปเดินซื้อหนังสือรวยด้วยหุ้น ไม่มีทางจะมีเงินทันที อย่างน้อยตกเป็นเครื่องมือเขา สเกลก็ไม่ได้ ข้อมูลก็ไม่พอ ความเชี่ยวชาญก็ไม่มี นักลงทุนในโลกตลาดที่พัฒนาและยั่งยืน ส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนสถาบันเป็น 70-80 % ของขนาดตลาดเป็นอย่างน้อย ไม่ได้หมายถึงจำนวนการซื้อขาย เพราะจำนวนการซื้อขายอาจจะมีนักลงทุนบุคคลรายย่อยถือหุ้น 10 % แต่ซื้อขายหุ้น 60 % ก็ได้ เพราะซื้อขายเร็วหรือเป็น Day Trade แต่นักลงทุนสถาบันปีละรอบเดียว ส่วนนักลงทุนบุคคลปีละ 6-7 รอบ 20-30 รอบก็มี คนที่จะมีคุณภาพได้ต้องมีความชำนาญ (expertise) จะต้องมีข้อมูลเพียงพอ


-ผู้ออกตราสาร (Issuer) ถ้านักลงทุนมีคุณภาพ Isuuer ก็จะมีคุณภาพเอง เพราะไม่มีคุณภาพก็จะไม่มีใครให้ทุน ก็จะเห็นเลยว่าหุ้นตัวไหนที่มีนักลงทุนสถาบันเป็นผู้ลงทุน หรือไม่ลงทุน ไม่เป็นหุ้นตายก็จะเป็นหุ้นที่มีเจ้าภาพที่มีการทำราคากัน


“ทำงานมา 42 ปี ไม่เคยเห็นการปั่นหุ้นการกุศล ทุกครั้งที่ปั่นก็ปั่นไปหลอกคนเสมอ คนก็จะเสียหายยับเยิน และไม่มีการปั่นหุ้นได้ตลอดกาล เพราะเขาปั่นเสร็จหลอกคนเข้าไปทำภารกิจ ต้มคนเสร็จก็ไป ทิ้งความเสียหายไว้ อย่างมากผู้ถูกหลอกก็เสียหาย หรือเจ้าของหุ้นบางทีก็ถูกหลอกให้เข้าไปอุ้ม อันเดอร์ไรท์เตอร์บางทีก็ชอบไปให้เจ้าของหุ้นไปดูแลหุ้นตัวเอง ระบบตลาดจะดูแลเอง”


คุณภาพของ Issuer จะขึ้นอยู่กับ คุณภาพของ investor และ Issuer ของไทยที่ดีขึ้นมาได้ มี Governace ได้เพราะแรงกดดันจากนักลงทุนทั้งนั้น ถ้านับจากฟรีโฟลตนักลงทุนต่างประเทศมีเกือบ 50 % น่ากังวลเพราะเคยอยู่ที่ 60 % ตัวกลาง Issuer จะถูกกำหนดโดยเจ้าของเงิน ถ้าเจ้าของเงินซื้อขายเร็ว รายได้ของตัวกลางก็มาจากการซื้อขายเร็ว ตัวกลางก็นิยมที่ไปสร้างแพลตฟอร์มให้นักลงทุนรายย่อย โดยเมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้ มีสัดส่วนนักลงทุนรายย่อยซื้อขายถึง 60 % ตัวกลางก็วิ่งไปสนองนักลงทุนรายย่อย ในที่สุดลดลงเรื่อยๆ จนตอนนี้เหลือ 30% เพราะหมดตัวเป็นส่วนใหญ่เขาก็เลยเปลี่ยนพฤติกรรม

ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศเดิมถือ 60 % แต่ซื้อขาย 20 % และตอนนี้ก็เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อขายเป็น Frequency Trade การซื้อขายเร็วไม่ได้เป็นการเก็งกำไรอย่างที่เข้าใจเสมอไป เป็นการซื้อขายโดยใช้คอมพิวเตอร์ล็อก ออกอริทึ่ม พวกนี้เป็นการซื้อขายถือว่ามีประโยชน์เพราะทำให้เกิดสภาพคล่องและลดความผันผวนของตลาด และจะลดต้นทุนของผู้ลงทุน


แต่โรบอตเทรดทำให้ตลาดแกว่งขึ้นลง 30 %? เข้าใจผิด คนคิดต่าง ชอร์ตเซลเป็นประโยชน์กับตลาดอย่างมหาศาล คนเข้าใจผิดและอยากให้เลิกชอร์ตเซล ต้องไปดูพัฒนาการของตลาดทุนทั้งโลก แน่นอนที่รายย่อยจะไม่สามารถทำชอร์ตเซลได้ คนไทยเวลาพอคนไม่สามารถพอก็จะไปห้ามคนที่มีความสามารถลงทุนได้เพื่อลดความแตกต่าง อันนี้ถือเป็นการพัฒนาถอยหลัง จริงๆ ต้องบอกว่า ถ้าเป็นพัฒนาการที่สำคัญ คุณไม่มีความสามารถพอ คขอเชิญคุณลงจากเวที คุณต้องไปหาเวทีอื่นผ่านกลไกที่เขามีความสามารถ ซึ่งทำงานมา 42ปี เพื่อนฝูงในวงการจะมองว่าผมเป็นแกะดำที่คิดไม่เหมือนคนอื่น แต่ผมคิดว่าผมคิดโปร่งใสของผม โดยเฉพาะโบรกเกอร์รายย่อยจะไม่ชอบแนวคิดต่างของผม


“ความจริงในตลาดทุนที่พัฒนาแล้ว นักลงทุนรายย่อยลงทุนในตลาดไม่ถึง 5-7 % และถ้าถึง 10 % เมื่อไรเกิดวิกฤตทุกที เพราะหมายถึงตลาดมัน Overshoot คนคิดว่าการซื้อหุ้นมันง่ายเลยกระโดดเข้ามา”


-ตลท. จุดอ่อนของ ตลท.คือ เป็นผู้เล่นรายเดียวในตลาด (Monopoly) มายาวนาน แปลว่า อะไรก็ตามที่เป็น monopoly จะนำมาด้วยการไม่มีการแข่งขันและไม่ต้องถูกกดดัน มันทำให้เกิดประสิทธิภาพได้ไม่เต็มที่ ถ้ามี Monopoly โดยธรรมชาติจะมีเหตุผลของมัน เคยมีข้อเสนอให้ตลาดหลักทรัพย์มีการแปรรูป แต่ถูกดองเอาไว้ แล้ววันนี้ก็อาจจะไม่เหมาะ แต่สุดท้ายคำถามทำไมทั่วโลกเขาทำ ตลท.มีเงิน 18,000 ล้านบาทเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่เคยมีทีมฟุตบอลอาชีพ มีสถานีโทรทัศน์ของตัวเอง ผมเห็นด้วยแผนพัฒนาตลาดทุนที่แยกทรัพย์สินเป็นกองทุนพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ซึ่ง Facilitator ของไทยไทยถือว่าดีเพราะเราเลียนแบบจากตลาดที่พัฒนาแล้ว


-ก.ล.ต.ไทยถือเป็นองค์กรที่มีคุณภาพสูงในระดับนานาชาติเพราะพัฒนาการในมุมที่ดีตลอดมา ตั้งแต่คนที่เริ่มก่อตั้ง แต่ถ้าคุยกับคนที่ตั้ง ก.ล.ต. สิ่งที่ก.ล.ต.ทำมากที่สุดคือ ทำทุกอย่างตามมาตรฐานที่ IOSCO กำหนดหรือ ก.ล.ต.กลางระดับโลก ไม่รู้ว่าทำไปทำไม แต่เห็นทุกคนทำก็ทำไปก่อน ในที่สุดเป็นเรื่องที่ดี เป็นการสร้างมารตรฐานร่วม การมี ก.ล.ต.ที่ดี ตั้งปี 2535 หลังมีตลท. 16 ปี การที่ ก.ล.ต. ตั้งทีหลังแต่สามารถพัฒนาทำให้ระบบ Governance ได้รับการพัฒนาที่ดีและยอมรับในมาตรฐานสากล และทำให้เงินทุนต่างประเทศยอมที่จะเข้ามามากขึ้นๆ


โครงสร้างตลาดหุ้นไทย ในโครงสร้างหุ้นไทยเป็นนักลงทุนสถาบันต่างประเทศที่ถือหุ้นไทยเดิม  60 % เหลือ 45 % มีสถาบันไทยจากศูนย์ แต่นักลงทุนสถาบันไทยเพิ่งเพิ่มเข้ามาหลังมีการตั้ง ก.ล.ต.มา 1 ปี คือมีการซื้อขายกองทุนรวม ทำให้มี บลจ. เกิดขึ้นมา เดิมเป็น Monopoly พอมีการแข่งขันเกิดขึ้นตลาดก็เริ่มพัฒนา บลจ.ที่พัฒนามากที่สุด คือ บลจ.ที่ตามมาตรฐานสากล บางคนไปชวนพาร์ทเนอร์ต่างประเทศมาเพื่อพัฒนาตัวเอง


กลุ่มนักลงทุนที่เติบโตมากสุดในตลาดหุ้นไทยคือ เงินลงทุนของนักลงทุนสถาบันในประเทศ ตอนนี้ประมาณ 35% ของฟรีโฟลต ซึ่งมากกว่า บลจ. คือมี กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ประกันสังคม หรือประกันภัยอย่างเดียวหมีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทยประมาณ 2 แสนล้าน ที่เหลือเป็นบุคคลธรรมดา ก็แบ่งเป็น 2 พวก  คือ 1)นักลงทุนที่ตามสถาบันคือซื้อช้าขายช้าพอร์ตเป็นการลงทุนอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะมีเงินลงทุนที่มาก แต่ตอนนี้กลุ่มนี้จะไม่ใช่ บล. แต่จะไปใช้ระบบ Private Wealth เพราะมีคุณภาพและมีการเติบโตที่เร็วมาก 2)นักลงทุนรายย่อยซื้อขายรายวัน (Day Trade) เงินน้อยแต่เทรดมากกว่า บล.ถึงเน้นดูแลมากกว่า ซื้อหนังสือตามแผง คอยฟังข่าวลือ


“ถ้าใครอยากเล่นหุ้นเล็กขึ้นเร็วลงเร็วมีหน้าที่แค่ 2 อย่างคือ “เกาะถูก โดดทัน” แค่นั้น เพราะไม่มีทางหาข้อมูลปัจจัยพื้นฐานได้ และคอยตามนักปั่นที่เขาก็ไม่ได้มีการปั่นเพื่อการกุศลอยู่แล้ว หรือเซียนหุ้น ซึ่งวอร์เรน บัฟเฟตยังไม่กล้าบอกตัวเองว่าเป็นเซียนหุ้นเลย”


ตลาดหุ้นไทยพัฒนาตามมาตรฐานสากลมาตลอด แล้วทำธุรกิจตามมาตรฐาน 2 มิติคือ ต้องการทำธุรกิจในตลาดหุ้นที่ดี และต้องการทำธุรกิจที่ทำให้คนที่อยู่ในตลาดหุ้นอยู่อย่างยั่งยืน ผมจะไม่มีนักลงทุนซื้อที่เช้าขายบ่าย ซึ่งเขาก็จะไม่มาซื้อเช้าขายบ่ายกับผม แต่จะมี Private Wealth ที่มีขนาด 5 แสนล้านบาท มีลูกค้าสถาบัน มีฝ่ายวิจัยแข็งแรง มีคนไม่เยอะ แต่มีคุณภาพและมีความเชี่ยวชาญจริง


42 ปี ของการทำงานในตลาดทุนมาแบ่งตลาดทุนแต่ละช่วงอย่างไรบ้าง


ถือว่าตลาดทุนไทยดีขึ้นตลอดเวลา มีการก่อตั้งมาวันที่ 30 เม.ย. 2518 แต่ผมเริ่มทำงานปี 2520

“ยุคแรกคือราชาเงินทุน” ยุคนั้นหุ้นขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล นักปั่นหุ้นไปได้ 2 ปี ตลาดก็ซบเซาไป 7 ปี โดยปี1983 หรือปี 2526 เป็นยุคที่ตลาดหุ้นไทยซบเซามากที่สุด มูลค่าซื้อขายรายวันเฉลี่ยอยู่ที่ 11 ล้านบาท วันนี้ 50,000 ล้านบาทเรายังบอกน้อย โบรกเกอร์ 30 คน เจ๊งกันหมด จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า Globalization ที่เงินทุนเริ่มไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ตลาดเลยเริ่มคึกคักใหม่


“ยุคที่ตลาดขับเคลื่อนโดยเงินต่างประเทศ” เมื่อปี 1984 เริ่มลดค่าเงินครั้งใหญ่ ปู่กับป๋าลดค่าเงินและกลับฐานประเทศ ประเทศไทยโชคดีที่เกิดวิกฤตค่าเงินเยน ทำให้ญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทย (Plaza Accord) เราโชคดีเจอแหล่งก๊าซธรรมชาติยุคโชติช่วงชัชวาล องค์ประกอบนั้นทำให้พื้นฐานเศรษฐกิจไทยดูมั่นคง รัฐบาลมีเสถียรภาพ เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ ป๋าเปรมเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 8 ปี มีวินัยการคลังเพราะใช้กลุ่มบุคคลผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ เป็นผู้บริหารเศรษฐกิจ (เทคโนแครต) เศรษฐกิจเริ่มทะยาน โดยทะยานเพราะเงินฝรั่ง ซึ่งโบรกเกอร์ที่พาฝรั่งเข้ามาคือ บล.ธนชาต และ บล.ทิสโก้ ผ่านโบรเกอร์ฝรั่งเล็กๆ 2 เจ้า หลังจากนั้นโบรกเกอร์ต่างประเทศเริ่มเข้ามาแต่ตอนนี้เจ๊งหมดแล้ว ซึ่งการเข้ามาของต่างประเทศทำให้เราต้องพยายามทำให้เป็นตลาดที่มีคุณภาพ เพราะถ้าไม่มีคุณภาพเขาก็จะไม่ลงทุน ตอนนั้นรายได้ของปรระชากรไทยต่อหัวต่อปีต่ำกว่าสหรัฐ 23 เท่า แต่วันนี้ต่ำกว่า 8 เท่า เราดีขึ้นไว


“เกิด ก.ล.ต.” การที่ฝรั่งเข้ามาทำให้เกิด ก.ล.ต. ทำให้ตลาดเลิก Monopoly เพราะเริ่มมี บลจ. เกิดขึ้น แต่เรายังพึ่งเงินต่างประเทศเยอะ หลังวิกฤตเศรษฐกิจโชคดีที่ตลาดหุ้นไทยมีการพัฒนามาแล้วระดับหนึ่ง เพราะบริษัทไทยที่รอดจากวิกฤต รอดจากเงินฝรั่งทั้งนั้น ทุกธนาคารที่อยู่รอดถึงวันนี้รอดเพราะเงินต่างประเทศหมดเพราะมีการเพิ่มทุน ตั้งแต่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารธนชาต นี่คืออานิสงส์ของตลาดทุน แลนด์แอนด์เฮ้าส์ก็ได้เงินจากสิงคโปร์ ทำให้เป็นบริษัทที่ดีมีความเข้มแข็ง


“ปตท.ปลุกนักลงทุนให้มาสนใจตลาดหุ้นไทย” หลัง 2540 ตลาดหุ้นซบเซามาก ต้องให้เครดิตกับรัฐบาลทักษิณเพราะการแปรรูป  ปตท. ถือเป็นการปลุกตลาดทุนไทยกลับมาจากที่เป็นตลาดหุ้นที่ต่างประเทศไม่ได้สนใจแล้ว หลังวิกฤตแบงก์ไปเพิ่มทุนได้ จากนั้นนักลงทุนพบว่าที่ซื้อหุ้นไปก็เจ๊งหมด ปตท.กลายเป็น Issue ใหญ่


“การโรดโชว์หุ้น ปตท.ตอนนั้น คือ การโรดโชว์ประเทศใหม่ให้กับนักลงทุนต่างประเทศ”


จำนวนเงินไม่ได้เยอะประมาณ 40,000 ล้านบาท ยังขายที่ 35 บาท และราคาก็ต่ำจอง แล้วไปโรดโชว์ใหม่เพื่อไปกระตุ้นตลาด นี่คือกลไกของตลาดที่แท้จริง ทุกอย่างเงินอยู่ต่างประเทศหมดเพราะเงินอยู่ตรงนั้น การโรดโชว์เพื่อให้รายย่อยเข้าไม่มีทางเข้ามา 6 เดือนราคาหุ้นอยู่ที่ 28 บาท ก่อนที่จะค่อยกลับมาอยู่ที่ 35 บาทได้


การที่ความสนใจของนักลงทุนต่างประเทศจะกลับขึ้นมา คีย์สำคัญอย่างหนึ่งอยู่ที่ บริษัทขนาดใหญ่ของไทยที่จะดึงดูดนักลงทุนไทยมีไม่มากพอ การที่มีบริษัทใหญ่เป็นจุดประกายจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้า ปตท.ไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปตท.จะไม่มีอย่างทุกวันนี้ เพราะมีคนมาโจมตีปีละ 1 แสนล้านบาทที่เอาจากประชาชน กำไรมากทำให้พลังงานแพง ปตท.เข้าตลาดคือการขายชาติ


“ตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์มา ปตท.กับบริษัทลูก เอาเงินจากตลาดไปแล้ว 4 แสนล้านบาท ถ้าไม่เอาเงินจากตลาดไป 4 แสนล้านบาท เท่ากับว่าการที่ ปตท.จะขยายรองรับความต้องการของผู้บริโภคก็ต้องเอาเงินงบประมาณจากรัฐไป 4 แสนล้านบาท ก็คงเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะมาก แล้วก็ขาดทรัพยากรไปพัฒนาด้านอื่น นี่คือการแปรรูป”


แต่ ปตท.ถือว่ายังไม่ได้เป็นการแปรรูป เป็นแค่ก้าวหนึ่งที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต้องขายหุ้นรัฐให้เหลือ 0% เหมือนที่มาร์กาเรต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ใช้กลไกตลาดเป็นคนดูแลบริษัทอังกฤษ โดยแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 40 กว่าแห่ง เช่น บริชิชเทเลคอม บริติชแอร์เวย์ บริติชปิโตรเลียม ทุกอันจากรัฐวิสาหกิจห่วยๆ กลายเป็นบริษัทที่มีคุณภาพระดับโลก นี่คือประโยชน์ขอ