top of page

ช่วยอย่างไร ให้ใจรอด



สนทนาธรรมกับท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต พร้อมแขกรับเชิญพิเศษ คุณกมลพร วรกุล ผู้ประกาศข่าว และอาสาสมัครสำนักการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)


ดำเนินรายการโดย ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ


จากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยที่ทะลุ 1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตวันละเป็นหมื่นคน ทำให้เกิดจิตอาสามากมายที่อยากช่วยเหลือผู้ป่วย รวมถึงคุณกมลพร วรกุล ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง TNN พิธีกรเสถียรธรรมสถาน ที่ได้ไปเป็นอาสาสมัครที่สำนักการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร

(ศูนย์เอราวัณ) แต่ในขณะเดียวกันการดูแลด้านจิตใจของอาสาสมัครเองก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกับภาวะการณ์ที่ต้องคอยประสานความช่วยเหลือให้กับผู้ป่วยที่ต้องการหาทางออกให้กับการรักษาโรค ลองมาดูวิธีการดูแลจิตใจของคุณกมลพร และคำแนะนำจากแม่ชีศันสนีย์


การทำหน้าที่อาสาสมัคร


คุณกมลพร


ช่วงแรกไม่ได้หนักมากเพราะเป็นการรับผู้ป่วยที่เป็นสีเขียว เครียดสุดคือการหาเตียงและผู้ป่วยโทรมาตาม เพราะห่วงเขาว่าจะหาเตียงไม่ได้ แต่พอมี 1330 หน้าที่หลักของศูนย์เอราวัณ 1669 ที่จะหาเตียงให้กับผู้ป่วยสีเหลืองเข้มจนไปถึงสีแดง เริ่มมีการบริหารจัดการที่ยากขึ้น ประกอบกับที่ช่วงนั้นไปทำอาสาสมัครสัปดาห์ละ 4 วันทำให้เกิดภาวะเครียดบ้างแต่ยังมองว่าสามารถผ่อนคลายได้ แต่เพิ่งมาช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ขอลดไปทำอาสามเหลือเพียงสัปดาห์ละ 2 วัน โดยแต่ละวันจะไปช่วยรับโทรศัพท์ 6-7 ชม.ต่อวัน โดยตอนที่หาเตียงสีเหลืองไปจนสีแดงสิ่งที่จะได้ยินจากผู้ป่วยเป็นประจำคือประโยคที่ผู้ป่วยพูดกับเราว่า “จะตายแล้ว จะปล่อยให้ตายมั้ยคะ หรือมีผู้ป่วยที่บางครั้งที่พูดกับเราไปด้วยและมีอาการหอบไปด้วย และบางคนถึงมีอาการช็อกคามือบ้างก็มี ก็ทำให้รู้สึกค่อนข้างเครียดบ้าง


แม่ชีศันสนีย์


พอฟังแล้วเหมือนเราเป็นเพียงแค่ทัพหลัง และทำให้รู้เลยว่า การช่วยทัพหน้าจะช่วยอย่างไรให้ใจรอดนี่คือสิ่งสำคัญและเป็นหัวข้อที่ต้องมาแลกเปลี่ยนรกันในวันนี้ ว่าเราต้องการดูแลหัวใจของอาสาสมัคร เพราะยังทำให้โลกใบนี้มีอาสาสมัครด้วยใจ เปรียบเหมือนเป็นวัคซีนอีกชนิดหนึ่งที่มีค่าในสังคม ในยุคโควิด-19 เมื่อเราเริ่มรู้สึกหดหู่ก็จะเริ่มมีความกังวลใจมากขึ้น และอาจเริ่มซึม เราเองในฐานะของคนช่วย ก็ต้องรู้จักดีท็อกซ์สภาวะในใจของเราไปด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วจะรู้สึกว่าไม่รอด เพราะถ้าใจไม่รอดก็คงช่วยคนอื่นได้ไม่ยั่งยืน


อย่างแรกต้องรู้จักจังหวะผ่อน จังหวะแตะ จังหวะที่เราจับมือกันไป โดยจังหวะผ่อนเมื่อกายยังแข็งแรง แต่ใจเหมือนต้องการไปเทถ่ายหรือย้ายจิตไปโฟกัส หรือหาความเบิกบาน หรือมีปิติในการทำงานได้บ้าง ก็น่าจะทำให้มีอาสาสมัครเกิดขึ้นอย่างยั่งยืนได้ ฉะนั้นถ้ารู้สึกว่า ตอนนี้เราไม่ไหว เราควรหยุดและรอดูมันก่อน โดยที่อย่าเอาความไม่ไหวไปช่วยคนอื่น เพราะก็จะทำให้ไม่ไหวไปต่อกันเรื่อยๆ เนื่องจากยังมีคนที่ยังไหวอยู่อย่างหมอและพยาบาล เราก็จะได้มีโอกาสไปใช้แรงบันดาลใจตรงนั้น แล้วหาประสบการณ์เพิ่มขึ้น พร้อมนำสิ่งที่เราเอาประสบการณ์ตัวเองออกไปเป็นแรงบันดาลใจให้กับการช่วยตรงนั้นด้วยเช่นกัน


การเป็นอาสาไม่ได้บอกว่าเราเก่งหรือไม่เก่ง เพียงแค่เอาจิตจะให้จะช่วย แล้วพยายามสร้างทีม พยายามให้จิตใจความปราโมทย์ หรือจิตที่มีความเบิกบาน การเป็นอาสาสมัครถ้ามีจิตไม่เบิกบาน ทำเพียง 1-2 ครั้ง ก็จะเข็ดไปเลย แต่ถ้าเรารู้สึกได้ว่าอาจจะมีใคร หรือสักเรื่องราวหนึ่งที่จะช่วยดึงแรงบันดาลใจของเราขึ้นมาให้พร้อม

“จิตที่คิดจะช่วยเราก็ยังต้องการฝึกฝนอยู่ ไม่ใช่คิดว่าแค่คิดจะช่วยเป็นเพียงก้าวที่ 1 แล้วมันจะจบ แต่ช่วยอย่างไรให้ใจรอด นั่นคือ ต้องอย่าทำให้ใจตัวเองห่อเหี่ยว ดังนั้นก็ต้องทวนตัวเองบ่อยๆ ว่าขณะที่เราให้หรือขณะที่เราได้รับใช้ผู้คน เราได้เห็นหรือยัง หรือเรายกจิตขึ้นมาหรือยังว่ามีความปราโมทแห่งจิตอยู่”

อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องฝึกทุกวัน เนื่องจากมีความจากพราก มีความรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกวัน และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดได้ง่าย ดังนั้นเราต้องมีการเตรียมกายเตรียมใจที่จะฝึกให้เรารู้จักดีท็อกซ์ตัวเองทุกวัน เรื่องไหนจบก็ต้องจบ อย่าจมอยู่ เราต้องมีพาร์ทเนอร์ที่จะมาแชร์กันได้ ซึ่งอาจจะมีหน้าไมค์หรือหลังไมค์เพราะตอนนี้เราก็ใช้หน้าทั้งหน้าไมค์และหลังไมค์เพื่อที่จะให้มีอาสาสมัครอยู่ แต่พวกเราก็ต้องอย่าลืมดูแลใจของอาสาสมัครเหล่านี้ด้วย


บริหารจิตใจอย่างไรเวลารับสายจากกรณีผู้ป่วยที่มีอาการหนัก


คุณกมลพร


มีบางกรณีเราเองเข้าใจได้ แต่เราก็ต้องเรียงลำดับคิวตามลำดับความสำคัญจริงๆ โดยให้สีแดงและเหลืองก่อน แต่ปัญหาคือแค่เตียงสำหรับผู้ป่วยสีแดงยังไม่มีเตียงเลย แต่ผู้ป่วยอาจจะบอกว่าเราไม่สนใจความเป็นความตายของเขาเลย ยอมรับว่าตอนนั้นมี 2 อารมณ์ขึ้นมา คือ ในใจก็โมโห เพราะความจริงมีคนที่อาการหนักกว่าคนที่กำลังพูดสายด้วยอีกมาก แต่ทำได้แค่เพียงหยุดนิ่งเพราะเราไม่สามารถไปโมโหใส่เขาได้อยู่แล้ว ต้องเก็บความโมโหไว้ในใจ และในบางครั้งก็จะรู้สึกเศร้า เพราะคิดว่าทำไมเรายื่นมือไปช่วยเขาไม่ได้ แล้วความเศร้านี้ก็เหมือนตามติดเราไปด้วย มีตัวอย่างเคสหนึ่งที่เราตามเรื่องเขา

ตลอดเวลา เพราะมีอาการช็อก แล้วไปอยู่รพ. ก็จะคอยถามพี่ที่รักษาว่าเขารอดยัง เขาได้กินแล้วหรือยัง เหมือนเรามีคำถามในใจ ว่าสุดท้ายเคสที่เราช่วยแล้ว เขาได้รอดจากโรคนี้แล้วหรือเปล่า


แม่ชีศันสนีย์


ความเป็นห่วงยังมีคาอยู่ในใจ แต่คุณยายว่า เราในฐานะที่เป็นอาสาสมัคร เหมือนเราก็ผิดหวังกับตัวเองด้วยว่า เราช่วยเขาไม่ได้ แต่อย่าจมไปกับความผิดหวังนานไม่อย่างนั้นจะเป็นความโกรธ ไม่ยอมรับ เพราะการที่เราไปช่วยเขา ก็ไม่ได้หมายถึงเราเป็นผู้วิเศษที่จะไปช่วยเขาได้ทั้งหมด เราไม่ใช่ผู้วิเศษ แต่เรายังเป็นผู้ที่พยายามอยู่ แต่เราไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือ และถ้าเราเห็นตัวเองโกรธ เพราะเราคาดหวังว่าเราจะมีกำลังที่ช่วยเขาได้ ก็จะนำมาซึ่งความผิดหวัง แล้วเดี๋ยวคนที่เป็นอาสมัครจะมีอาการซึมได้


เราต้องเห็นตามความเป็นจริงคือ เรายังช่วยเขาอย่างเต็มที่ด้วยตวามสมัครใจของเรา ถึงแม้ว่าเขาจะมีความทุกข์มาก เขาก็อยากระบายออกมา แล้วเราพร้อมฟังหรือใช้การฟังแบบนี้ ไม่เป็นกระดาษซับ

หาทางช่วยเหลือ หาทางเกื้อกูลและไม่ดูถูกเขา ทำไมคุณไม่ช่วยตัวเองเลย คุณเพียงแต่จะเอาๆ โดยเราก็ควรคิดว่าเขากำลังทุกข์ และเพราะความที่เขากำลังทุกข์ ซึ่งปกติของคนที่มีทุกข์จะไม่ยอมรับความจริง เมื่อถูกปฏิเสธเขาก็จะโกรธเหมือนกันหมด เนื่องจากเขาไม่ได้รับการดูแล แต่เราเป็นอาสาสมัคร ถ้าเราโกรธอีก ไม่อดทน มันก็จะมีแต่เรื่องเครียดกัน แล้วเราก็ต้องมีลักษณะอีกอย่าง นั่นคือ “การยกใจของเราขึ้นมา"


เมื่อเวลาเรายกใจขึ้นมาอยู่กับการผันพลังงานบางอย่าง อย่างน้อยจิตของเราจะไม่เศร้าหมอง เช่น การเล่นเกมลมหายใจ หรือการทำงานศิลปะ เหมือนเด็กๆ ของเราที่จะส่งตุ๊กจาน้องงีบไปให้หมอและพยาบาลเพื่อบอกให้เขาได้พักบ้าง หรือการส่งตุ๊กตาไปให้เด็กๆ เพื่อที่เด็กจะได้จินตนาการได้ว่า ตุ๊กตาเขาก็เศร้า เขากำลังเจ็บปวด

“ทุกขั้นตอนของคนที่จะเป็นอาสาสมัครจะต้องปลดปล่อยตัวเอง เพราะถ้าเรายังให้อภัยตัวเองไม่ได้ในการช่วยเหลือเขาอย่างเต็มที่แล้ว ยังมีการสูญเสียอีก เราอาจจะไม่ทำสิ่งนี้อีกเลย เพราะเข็ด ซึ่งอันนี้น่าเสียดาย”

ดังนั้น ต้องพยายามผ่านขั้นตอนของการผิดหวัง ไม่ต่อรอง แต่ยังทำงานอย่างเต็มที่และหาพลังร่วมจากคนที่ประสบการณ์จากเรื่องนี้ที่ผ่านไปให้ได้ ใช้โฟกัสการทำงานที่ส่งกระแสดีๆ เติมเต็มซึ่งกันและกัน ซึ่งไม่มีใครมีพลังงานที่เต็มตลอดเวลา บางวันเต็ม บางวันล้น บางวันแผ่ว โดยเวลาแผ่ว เราต้องกลับมาหางานที่จะเปลี่ยนพลังงานของเราให้ได้ก่อน จากนั้นเราก็จะมีประสบการณ์ทั้งจากความสูญเสียและจากความสำเร็จเป็นแบบปกติ


ทั้งหมดนี้กว่ามันจะตกตะกอนแบบปกติได้ ก็ต้องใช้เวลายาวอย่างพอสมควร และบางเรื่องเราก็อาจจะคุยกับใคร หรือมาคุยกับคุณยายก็ได้เป็นรายเคสไป เหมือนได้จับใจของเราก่อน แล้วเราก็จะได้กลับไปทำงานที่เราอยากเสียสละหรือให้โอกาส เชื่อว่าตอนนี้พวกเราเจอสภาวะอย่างนี้แทบจะทุกคน ทั้งจากเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอาสาสมัคร บางทีเราไปเจออะไรที่ล้นมากๆ เราอาจคิดไปเองว่าเขาดราม่าหรือเปล่า แต่ความจริงแล้วเขากำลังป่วย ปกติของคนที่กำลังอยู่กับความทุกข์ต้องมีที่ปลดปล่อยทุกข์ เราอาจจะคิดว่าเราเป็นกระโถน ซึ่งกระโถนความจริงมันมีคุณค่านะ ก็พ่นอะไรออกมาได้ ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย ก็อยากให้กำลังใจ


จุดเริ่มต้นไปช่วยศูนย์เอราวัณ


คุณกมลพร


เริ่มต้นจากที่อ่านข่าวเรื่องขาดแคลนเตียง เลยอยากรู้ว่ากระบวนการหาเตียงเริ่มต้นจากอะไร เรามีหมอ พยาบาล มี รพ. แต่ทำไมมีคนรอเตียงจนเสียชีวิตที่บ้าน และมีโอกาสรู้จักผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร 1669 จึงขอไปร่วมทำอาสา ซึ่งเขารับอาสาสมัครหลายฝ่าย แต่เขาดูว่าเราถนัดพูดก็น่าจะไปช่วยรับโทรศัพท์ได้ รับโทรศัพท์ช่วงแรกเป็นช่วงที่ผู้ป่วยสีเขียวที่ไม่มีอาการหนัก ฉะนั้นงานยังไม่หนัก รับมือกับมันได้ แต่ช่วงหลังๆ นี้ มันหนักจริงๆ เจอผู้ป่วยหนัก จึงเข้าใจว่าพยายาลต้องประเมินอาการอย่างจริงจัง เพราะทรัพยากรมีน้อยมากจริง ซึ่งการที่จะประเมินผู้ป่วย 1 คนเข้าสู่ระบบการรักษาได้จากเตียงที่แทบจะไม่มีแล้ว การจะต้องคัดผู้ป่วย 1 คนได้ จนเราเริ่มรู้สึกกว่าคนทำไมดูโหดจัง ต้องค่าออกซิเจนต่ำขนาดนี้ แต่พี่ๆ เขาบอกว่าต้องใจแข็ง เพราะไม่อย่างนั้นผู้ป่วยจะล้น รพ.รับไม่ได้ จริงๆ ซึ่งตอนนี้ทำมาได้ประมาณ 3 เดือนแล้วก็ว่าจะทำต่อไปเรื่อยๆ แต่จำนวนวันที่ทำได้ลดน้อยลงกว่าเมื่อก่อนแล้ว


แม่ชีศันสนีย์


มันเครียดนะ แล้วความจริงทุกคนควรที่จะต้องช่วยตัวเอง แบบชนิดที่เรียกว่าลดปริมาณของผู้ป่วยและช่วยให้คุณหมอและพยาบาลมีงานที่น้อยลง กอปรกับที่เราเริ่มมีภูมิคุ้มกันกันมากขึ้น คิดว่าทิศทางที่มีปัญญามากขึ้นแล้วตอนนี้ ฉะนั้น การไม่ถอยทัพเร็ว การไม่มีอารมณ์หรือความรู้สึก หรือการใช้อารมณ์เรา จะทำให้บรรยากาศตรงนี้ยังมีความสุขเล็กๆ อยู่ได้บ้าง ซึ่งความสุขเล็กๆ ของอาสาสมัครสำคัญมาก ซึ่งบางทีเมื่อกลับมาบ้านแล้วอาจต้องกลับมาภาวนา หรือจดจ่อกับลมหายใจของเราบ้าง สมัยหนึ่งเราอาจคิดว่าเราเก่งแล้ว เราแน่แล้วเราฝึกมาดีแล้ว แต่พอออกสนามแล้ว ถ้ามันไม่คมพอจะเครียด แต่ขณะเดียวกันก็จะกลายเป็นมิติการฝึกให้เราได้มากขึ้นด้วย


ก่อนออกจากบ้านนี้แต่ละวันจะขอให้รอด ให้มีปาฏิหาริย์ แต่ความจริงจะรอดหรือไม่รอดนั้นอยู่ที่ใจ แต่ความจริงความศักดิ์สิทธิ์มันอยู่ที่จิตของเราที่ฝึกไว้ว่าเราจะยอมรับความจริงในทุกเรื่องกับการทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งตอนนี้ตัวเลขก็เริ่มไม่สูงไปกว่านี้แล้ว และประชาชนเริ่มมีคามหวาดกลัวน้อยลง รวมถึงเริ่มมีการสร้างภูมิกันมากขึ้นแล้ว


ดังนั้น การเป็นอาสาสมัครที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือ การให้ปัญญากับประชาชน เช่น การยกตัวอย่างประสบการณ์ดีๆ อย่าเอาเรื่องที่ให้เกิดความคิดซ้ำๆ ทำให้เกิดการซึมหรือเกิดการวิพากย์วิจารณ์ที่ไร้ทิศทาง เพราะมันมีสติกำกับอยู่ ดังนั้นถ้าเราเป็นคนพูดเก่งเป็นคนอ่านข่าว เราเจอเรื่องไหนที่สามารถมีแรงบันดาลใจ เราก็ให้พื้นที่กับเรื่องนี้มากขึ้น แล้วเรื่องไหนที่เศร้าก็ค่อยลดพื้นที่


เรื่องเหล่านั้นลงไป ลองดูว่ามันดราม่าเกินไปมั้ย แต่ความจริงทุกชีวิตมันดราม่ามากกว่าละครอีก หรือลองไปสัมภาษณ์อาสาสมัครบางคน เพราะบางคนอาจถึงขั้นต้องรักษาตัวเองไปเลย เนื่องจากบางคนไม่ได้แข็งแรง เมื่อเรามีแรงช่วยได้เรื่องกาย แต่เราต้องมีจิตใจที่เราต้องรอด เมื่อกลับบ้านมาเราควรภาวนาบ้างหลังจากที่เราอาบน้ำเสร็จ ชำระล้างร่างกายไม่ติดโควิด-19 เพื่อให้เขาผ่อนคลาย และเมื่อเราให้เขาอย่างไร เราก็ต้องกลับมาให้ตัวเองด้วย


การดีท็อกซ์ของอาสาสมัคร


แม่ชีศันสนีย์

“สิ่งที่เราควรจะรู้อย่างเท่าทันมีเพียง 2 เรื่องคือ ทุกข์กับพ้นทุกข์ ถ้าเราเห็นความทุกข์ ให้ปักหมุดเลยว่า เห็นทุกข์เพื่อพ้นทุกข์”

เพราะฉะนั้นเป็นวาทธรรมของคุณยายเลยว่า ทุกข์มีไว้ให้เห็นได้มีไว้ให้เป็น เราอย่าปฏิเสธความทุกข์เลย เห็นทุกข์เพื่อที่จะเรียนรู้กับทุกข์ในกรณีนั้นๆ อย่างคนที่ไม่จมทุกข์ที่ร่ำไรรำพัน ไม่ขี้ขลาดที่จะเห็นมัน ให้ระลึกอยู่เสมอว่ามันมีโจทย์ที่สำคัญ และให้กำลังใจตัวเองไปเลยว่า ยากๆ นี่แหละเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี

เวลาที่เรามองเห็นความทุกข์ ความไม่เป็นดังใจ เสียใจ โกรธ เกลียด งอน หรืออารมณ์ที่ไม่ปกตินั่นคือทุกข์ เราเป็นอาสาสมัคร เราต้องดีท็อกซ์ทุกข์ เราต้องเห็นตามมันเป็น อย่าปฏิเสธที่จะเห็นมัน แต่การที่เราฝึกการเห็นที่เป็นสัมมาทิฐิโดยวิธีการรู้ว่าทุกข์ ก็ทนอยู่ได้ยาก แต่ก็เป็นปรากฎการณ์ให้ได้เห็น แล้วก็เห็นความเป็นทุกขังที่ซ้อนอยู่ในคำว่าทุกข์ ซึ่งหมายถึงการทนอยู่ได้ยาก

“การที่เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของความทุกข์นั่นคือการเห็นความทนอยู่ไม่ได้ มันจะทำให้เกิดความเป็นฉันน้อยลง มันไม่ใช่ทุกข์ของฉัน มันเป็นทุกข์ที่จะต้องคลี่คลาย มันทนอยู่ได้ยาก มันจะต้องเปลี่ยนแปลง ซึ่งธรรมชาติคือการเปลี่ยนแปลง เมื่อเราเข้าถึงธรรมชาติ จนเราสามารถที่จะมองเห็นว่ามันไม่ได้มีอิทธิพลเหนือเรา ความทุกข์ที่ทนอยู่ไม่ได้มันกำลังคลายคืน มันจึงไม่มีฉันและของฉัน”

การจะเอาชนะแค่เพียงเห็นอย่างที่มันเป็นแล้วเราจะเห็นความเป็นอนิจจังต่อสิ่งที่เราเห็น ทุกขังการทนอยู่ไม่ได้ อนัตตาต้องเป็นความเห็นชอบ ที่ไม่มีความอหังการ ไม่มีความดีใจเสียใจ แต่เป็นสิ่งที่เราเห็นการเกิดดับที่สั้นขึ้น เห็นความเป็นเช่นนั้นเอง นี่คือการเกิดดับเลย เมื่อนั้นก็จะไม่มีการเปรียบเทียบ มันก็จะจบเป็นขณะๆ ไป อันนี้อาจเห็นไม่ยากหน่อยและน่าจะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ เราก็จะเห็นความเป็นอาสาสมัครที่เราคงต้องเป็นอาสาสมัครกันตลอดชีวิต เราเกิดมาก็เพื่อให้ชีวิตบนโลกนี้ผาสุกและงดงาม เพราะการเห็นชอบอันนี้ เพราะการปฏิบัติที่ยากขึ้น เราก็ควรที่จะคมเข้มขึ้น ถ้าเราไม่เคยถูกลับคมเลย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราคมขึ้น คนอาจจะความคิดดี จิตใจดี แต่เรายังไม่เคยลงสนามทดลองเลย มันจะวัดกำลังได้อย่างไร

คุณกมลพร


บางทีคิดว่าจิตคม รับมือได้ บางทีเหมือนตั้งหลักได้มาก แต่ก็วนกลับมาในระยะเวลาอันสั้น


แม่ชีศันสนีย์


เราต้องมีประสบการณ์ เอาจากที่ทำไม่เป็นและอยากรู้และเป็นผู้เสนอข่าวที่เข้าใจ เมื่ออารมณ์เข้าไปอ่านข่าวจนอินและไปเป็นอาสาสมัคร จะมี Mood and tone ที่เสียใจบ้าง แต่เขาก็จะมีวิธีการจัดการ รวมกับเราอยู่ เขามีการทำงานเป็นทีม และบางเรื่องเราอาจจะต้องกระจายบ้าง ซึ่งมีหลายเทคนิค บางทีเราเจอเรื่องพีคของเรื่องนี้จริงๆ ที่อาจจะผ่านมันไปได้ จึงทำให้รู้เลยว่ามีค่ามาก กับการออกมากับจิตที่คิดจะช่วยและให้โอกาสกัน


เพราะจริงๆ การให้และการรับมันต่างกันที่จิต คนรับก็ต้องฝึกจิต ต้องรู้จักประมาณในการรับและพึ่งตัวเองให้ได้ คนให้ก็ต้องรู้จักการประมาณที่จะให้ เพราะจิตที่คิดจะให้มันเบา มือของคนให้ต่ำกว่ามือคนรับ การให้ในทุกเคสหรือเราสามารถบอกเขาอย่างตรงไปตรงมาได้ ว่ามีเงื่อนไขใดๆ บ้างกับการที่ไม่ได้ในสิ่งนี้ และสิ่งที่เราทำหรือหลายคนทำมันมีการเสียสละ และมีอีกหลายวิธีการที่จะทำให้รอดจากโควิด-19 ไปด้วยกัน ลองมาหาวิธีการอื่นๆ จากการติดโควิด-19 หรือประสบการณ์นี้อาจนำไปสู่วิธีการที่จะไปสู่การป้องกันของร่างกายของเราจนโควิดไม่ได้แข็งแรงไปกว่าเรา ซึ่งทุกอย่างในเหตุการณ์นี้ล้วนเป็นครูของเราทั้งสิ้น เรากำลังเป็นนักเรียนที่กำลังเรียนรู้กับชีวิตอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการเรียนรู้วิชาชีวิตจริงๆ


คุณกมลพร


มีเพื่อนอยากทำอาสาสมัครหลายคน แต่ทางบ้านไม่ให้ทำ เพราะกลัวเสี่ยงที่จะติด ที่บ้านก็ไม่อยากให้ไป ก็เป็นทุกข์อีกแบบ


แม่ชีศันสนีย์


อะไรที่ไม่เป็นดั่งใจที่ปรารถนา เพราะที่บ้านเราอาจติดได้ง่ายหลายอย่าง เขาก็มีความเป็นห่วงที่เราอาจจะเข้าไปเป็นพื้นที่เสี่ยง แต่คุณยายก็เห็นอาสาสมัครหลายหลายคนที่ทำตอนนี้ก็ไม่ได้บอกที่บ้าน แต่ก็ต้องรู้วิธีไม่นำการเป็นพาหะสู่ครอบครัว เราสามารถใช้ปัญญาทำตามความเหมาะสมและบริบทนั้นเป็นเรื่องๆ ไปดีกว่า คือถ้าเป็นอาสาสมัครโดยที่เราไม่ใช้ปัญญาเราก็จะตกเป็นเหยื่อของการดีใจ เสียใจ มากขึ้น

ถ้าเผื่อเราเจอเพื่อนที่ออกมาไม่ได้ แต่มีอย่างอื่นที่สามารถเป็นอาสาสมัครได้ด้วย แล้วเราอยู่บ้านก็สามารถช่วยได้อีกแบบ ซึ่งก็มีหลายคนก็ทำงานอื่น เช่น ทั้งครอบครับมาเย็บตุ๊กตาไปให้คนอื่นเพื่อส่งไปให้ผู้ป่วยและทีมแพทย์และพยาบาล อาสาสมัครไม่ได้หมายถึงการที่ต้องไปดูแลใกล้ผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะหมายถึงการดูแลบุคลากรทางการแพทย์ได้ด้วย


ไม่ว่าจะเป็น การส่งอาหารการกิน การให้คำปรึกษา ซึ่งมีหลายความชำนาญที่เราสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ เพราะถ้ามัวเสียใจก็จะกลายเป็นผู้ป่วยที่อาจสร้างภาระให้กับกระทรวงสาธารณสุขแทนอีก แนะนำเขาว่ามีบริบทอื่นที่สามารถเข้าไปช่วยได้อีก ซึ่งความจริงอาสาสมัครเป็นคนทำให้โลกนี้สวยมีน้ำใจกันมากขึ้น รักกัน ฮึกเหิมไปด้วยกัน และรู้สึกสนุกที่จะทำไปด้วยกัน ซึ่งเราควรจะต้องคอยหาวิธีการช่วยที่แตกต่างกัน


เมื่อทางการเริ่มส่งสัญญาณคลายล็อคดาวน์แล้ว คนทั่วไปควรใช้ชีวิตอย่างไรอยู่ด้วยกันอย่างสันติ


คุณกมลพร


แม้จะคลายล็อกดาวน์กันแล้ว ก็ยังต้องปฏิบัติให้เข้มงวดประหนึ่งก่อนคลายล็อกดาวน์ไปอีก ในมุมธุรกิจหรือเศรษฐกิจทั้งประเทศ ไม่อย่างนั้นคนก็จะทำมาหากินไม่ได้ เพราะถ้าไม่ระมัดระวังตัว ตัวเลขผู้ป่วยอาจจะกลับมาอีก และเป็นการกลับมาในแบบที่คนไม่ได้มีความรู้สึกตกใจแล้ว เพราะหลายคนที่เป็นก็รักษาอยู่ที่บ้านแล้วหาย หลายคนอาจจะชิน แต่ความชินกับมันจะทำให้เราประมาท มีตัวอย่างหลายบ้านแล้วที่เวลาโทรมาปรึกษา จริงๆ เป็นแล้วรักษาหายแล้ว ถามว่าทำไมติดอีก พอให้ไปตรวจก็ติดโควิดอีกจริงๆ ก็เลยต้องบอกว่าโอกาสติดซ้ำมีสูง โอกาสระบาดมันยังมีอยู่ เพียงแต่เราชินกับตัวเลข

“แม้จะคลายล็อกดาวน์แล้ว ก็ยังต้องดูแลตัวเองอย่างดี ถ้าเราไม่ป่วยหนักรักษาที่บ้านหายไม่เป็นไร แต่ถ้าเมื่อใดที่เราต้องใช้เครื่องมือแพทย์ในการรักษามันจะลำบาก เพราะมันมีไม่เพียงพอ และทำให้ผู้ป่วยที่เสี่ยงสูงมีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูง”

แม่ชีศันสนีย์


เห็นด้วยเลยว่าเรากำลังจะใช้โอกาสในการคลายล็อกอย่างไม่ประมาทอย่างไร เหมือนเราเริ่มมีความกลัวกันน้อยลง หรือถ้าไม่กลัวแล้วก็ยังประมาทนี่ก็ไม่ดี ดังนั้นต้องสมมุติว่าตัวเราเป็น และถ้าเราเป็นเราจะอยู่กับคนอื่นอย่างไรที่เราจะไม่แพร่ แล้วคิดเสมอว่าทุกคนเป็น แล้วเราจะอยู่อย่างไร การ์ดต้องไม่ตก

ทำอย่างไรที่ไม่ให้จำนวนคนเป็นต้องเพิ่มขึ้นไปอีก

“สิ่งจำเป็นมากที่สุดคือ เรื่องของวินัยของคนในชาติ ทุกวงการต้องมีวินัย ชาวบ้านก็ต้องสร้างวินัยที่จะอยู่กับการปลดล็อกทำมาหากินนี้ได้ เพราะทุกอย่างจะไม่เหมือนเดิม ดังนั้น การมีวินัย สำนึก เรื่องการที่จะช่วยสังคมจริงๆ โดยไม่ต้องรอหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และทำในแบบที่เราสามารถทำได้เป็นวิถีชีวิตแบบเราไปเลย”

เราจะเห็นชีวิตใหม่ที่เราจะได้เรื่องนี้กลับมา เราไม่ได้หายด้วยวัคซีน แต่จะไม่ให้โควิดติดที่ใจไปกับเรา แล้วเราจะไม่ติดกับความกลัว เราแข็งแรงพอที่จะสร้างสมดุลกับชีวิตของเรา ที่จะทำให้เราต้องใส่แมสไปอีกยาวนาน แต่ก็ดีกว่าการไม่ได้ปลดล็อกเลย แต่ปลดล็อกอย่างไรที่จะทำให้ไม่แพร่เชื้อโรคนี้ เป็นโจทย์ที่ต้องให้ความรู้ มีสำนึก และมีกติกา ต้องใส่แมสหากัน ต้องฉีดแอลกอฮอล์ บ่อยๆ เสมือนเป็นนิสัยใหม่ของพวกเราเลย


คำถามจากผู้ฟังคลับเฮ้าส์ : เมื่อผู้ป่วยที่โทรมามีเรื่องกระทบจิตใจกับอาสาสมัครที่รับสายควรแก้ไขปัญหาหรือดูแลจิตใจอย่างไร


คุณกมลพร


การเป็นโควิด-19 มีโอกาสติดซ้ำได้ แต่ไม่แน่ใจในเรื่องงานวิจัยว่าสามารถติดกันในสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่ แต่จากที่เจอตอนรับสายโทรศัพท์หายไปแล้ว 2 เดือน ก็พบว่ามีโอกาสติดซ้ำหรือไม่แน่ใจว่าเป็นซากเชื้อหรือเปล่า สำหรับการทำงานอาสาฯ กับผู้ป่วยก็มีบ้างที่ต้องมีความไม่เข้าใจตรงกัน ตัวอย่างคือ เป็นผู้ป่วยที่ใช้ล่ามโดยให้ผู้จัดการคอนโดฯ ประสานงานคุยกับเราให้ เพื่อหาเตียง ซึ่งคนนี้ใช้กระบวนการหลายวันในการหาเตียง เขาพูดดี จนทะเลาะกัน ถึงต้องเรียกเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปจัดการ เพราะเขาไม่ยอมไป รพ.สนาม และสิทธิ์เขาไม่สามารถไปอยู่ Hospitel ได้ ซึ่งสิ่งนี้อาจดูเหมือนเป็นความขัดแย้งแต่สุดท้ายเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ก็คิดแค่ว่าเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยเขากำลังทุกข์ แต่ไม่ว่าจะไม่เข้าใจกันขนาดไหนในที่สุดเจ้าหน้าที่คนที่เขาพูดจาไม่ดีด้วยก็ยังเป็นคนประสานจนได้เตียงที่รพ.บางขุนเทียน


การไม่เข้าใจกันย่อมอาจเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อแต่ละคนบริหารจัดการอารมณ์ได้ ทุกคนก็สามารถกลับเข้าสู่โหมดการปฏิบัติหน้าที่ได้ เพราะเป้าหมายคือ การช่วยให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษา ไม่ว่าจะมีความขัดแย้งอย่างไรเกิดขึ้น ทั้งอาสากับอาสา อาสากับหน่วยงาน ย่อมต้องมีบ้าง แต่สุดท้ายเราก็ต่างทำหน้าที่จะพาผู้ป่วยไปสู่ระบบการรักษา


แม่ชีศันสนีย์


มีการออกศึกกันบ้าง มีคมที่อาจไม่ได้แตกต่างกันบ้างเพราะเป็นความรู้สึก ถ้าจบความรู้สึกเร็ว ก็จะไม่มีการกระแทกกัน เนื่องจากทุกคนมาด้วยเจตนาที่ดีและจากประสบการณ์วิธีการทำงาน มุมมองวิธีการคิดที่แตกต่างกัน แต่คุณยายไม่เห็นด้วยกับการใช้อารมณ์ในการเจรจาเรื่องนี้ เราควรจะใช้ปัญญา คือ เราต้องจัดการมันอย่างไรอย่างที่มันสูญเสียน้อยมากที่สุด และมิตรภาพก็ยังอยู่


คำถามจากผู้ฟังคลับเฮ้าส์ : เป็นนักศึกษากำลังเรียนหนัก เรียนเสร็จอยากจะระบายหรือให้รางวัลตัวเอง มีวิธีการทำให้ดูแลตัวเองแบบไหนที่ดีต่อสุขภาพและได้ให้รางวัลตัวเองไปด้วย


แม่ชีศันสนีย์


เราควรมีรางวัลให้กับชีวิตแต่เราควรเปลี่ยนยุคที่เราออกไปกินอะไรอร่อย เที่ยวอย่างไรไรสนุก หรือทำอะไรอย่างที่เคยทำแต่ตอนนี้มันทำไม่ได้ อาจลองมาเดินทางด้านในก่อน ซึ่งเราอาจจะไม่เคยเห็นสิ่งนี้มาก่อน แต่สิ่งนี้กลับจะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับเราไปตลอดชีวิตเลย ลองเล่นเกมการจดจ่อจิตอยู่กับอะไรสักอย่าง บางทีเราคิดว่าเรากำลังเครียดกับการเรียน หรืออยู่กับการตระหนกของเรื่องอนาคต

“การกลับมาอยู่กับปัจจุบันและอยู่อย่างรู้ตัวทั่วพร้อม และก็ใช้เทคนิค อาจเป็นใช้ลมหายใจเป็นเครื่องอยู่ตามดูรู้เห็นจากสิ่งที่มันเป็น การได้รับรางวัลจากข้างนอกกับการรับรางวัลจากข้างในอะไรคือสิ่งที่ต้องทำตอนนี้”

เราก็มีสิ่งที่สามารถตามดูข้างในอย่างสนุกสนานได้ ไม่ใช่อยู่บริบทบทความแข็งทื่อ แม้เราเดินทางไป

ข้างนอกไม่ได้ แต่เราสามารถติดตามรู้จิตให้จิตตอบได้ ดูลมหายใจได้ อาจไม่ต้องนั่งหลับตา แต่อาจใช้งานศิลปะ จิตที่จะให้ รดน้ำต้นไม้ ทำกับข้าวที่เป็นมื้อสำคัญขอกินกับคนที่เรารัก ได้ดูแลพ่อแม่ คนในบ้านหรือคนที่มีชะตากรรมเดียวกัน ดังนั้น สิ่งเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่มีความแตกต่างในเทคนิค แต่เรามีเป้าหมายเดียวกันคือการมีชีวิตในช่วงนี้อย่างรอดและปลอดภัย การทำอย่างนี้จะทำให้เราผ่อนคลายความเครียด เพราะจิตจะเริ่มมีกำลังและจดจ่อ เพราะถ้าจิตมันฟุ้งซ่านอยากไปที่อื่นๆ แต่ทำไม่ได้ มันจะนำมาซึ่งความโกรธ อึดอัด แ